การขอไฟฟ้าประเภทบ้านที่อยู่อาศัย
สถานที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า ต้องมีบ้านเลขที่และหรือมีสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอใช้ไฟฟ้ามาแสดง
สถานที่ติดต่อขอใช้ไฟฟ้า ติดต่อขอแบบฟอร์มคำร้องขอใช้ไฟฟ้าได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าฯทุกแห่ง กรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้องแล้วยื่นแบบฟอร์มที่
สถานที่ติดต่อขอใช้ไฟฟ้า ติดต่อขอแบบฟอร์มคำร้องขอใช้ไฟฟ้าได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าฯทุกแห่ง กรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้องแล้วยื่นแบบฟอร์มที่
- สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในท้องที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า
หลักฐานที่จะต้องนำมาแสดง1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะขอใช้ไฟฟ้า
3. ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารเอง ถ้ามีจำนวนดวงโคมเต้ารับและ เครื่องไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้แล้ว และ ที่ติดตั้งใหม่รวมกันเกินกว่า 20 จุด (หนึ่งจุดเท่ากับดวงโคม 1 ชุด หรือเต้ารับ 1 ชุด) หรือใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 5 กิโลวัตต์ จะต้องส่งแผนผังการเดินสาย และ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดมาตราส่วนไม่เกิน 1:100 จำนวน 2 ชุด เพื่อใช้ประกอบในการตรวจสอบแผนผังการเดินสายนี้ ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะจ้าง การไฟฟ้าฯจัดทำให้ก็ได้
4. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าอาจจะมอบให้ผู้อื่นไปทำการแทนได้โดยทำหนังสือมอบอำนาจซึ่งมี ผู้ลงนามเป็นพยาน 2 คนและปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้รับมอบอำนาจ ต้องนำหลักฐานตามข้อ 1-3 ของผู้มอบอำนาจไปแสดงพร้อมหลักฐาน ตามข้อ 1 ของผู้รับมอบอำนาจเองด้วย
ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้า
- เมื่อการไฟฟ้าฯได้รับคำร้อง และมีหลักฐานดังกล่าวข้างต้นเรียบร้อยแล้ว การไฟฟ้าฯจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ การเดินสายภายในอาคาร
- เมื่อการไฟฟ้าฯได้ทำการตรวจสอบแล้วหากการเดินสายหรือการ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ถูกต้องและ ไม่ปลอดภัย การไฟฟ้าฯจะให้คำแนะนำ เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว จะแจ้งให้ผู้ใช้ไฟฟ้า ทราบ เพื่อชำระค่าธรรมเนียม
- ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้ายังไม่ได้ติดตั้งสายภายในอาคาร เมื่อติดตั้งสายภายในอาคารเรียบร้อยแล้ว ขอให้แจ้งการไฟฟ้าฯทราบอีกครั้ง เพื่อดำเนินการตรวจสอบให้ต่อไป
- เมื่อตรวจสอบถูกต้องเรียบร้อยแล้ว
โปรดชำระเงินค่าธรรมเนียมที่การไฟฟ้าฯที่ท่านขอใช้ไฟฟ้า
และโปรดรับใบเสร็จรับเงิน จากเจ้าหน้าที่เก็บไว้ เป็นหลักฐานต่อไปด้วย
ค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้า
ในการขอใช้ไฟฟ้า ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้าตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ กำหนดอัตราไว้ตามชนิด และขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง โดยสอบถามรายละเอียด ที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ทุกแห่ง ดังนี้
1. ค่าธรรมเนียมต่อไฟ
2. ค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร
3. ค่าส่วนเฉลี่ยการใช้พลังไฟฟ้า
4. เงินประกันการใช้ไฟฟ้า
5. ค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังมิเตอร์(ถ้ามี)การชำระค่าไฟฟ้าและการตรวจสอบมิเตอร์
1. การอ่านมิเตอร์ การไฟฟ้าฯจะอ่านหน่วยในมิเตอร์ตามระเบียบของการไฟฟ้าฯ
2. การชำระค่าไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าไฟฟ้าเมื่อพนักงานเก็บเงินไปเรียกเก็บจากท่าน ถ้าไม่ได้รับชำระพนักงานเก็บเงิน จะมอบใบเตือนให้ผู้ใช้ไฟฟ้า นำเงินไปชำระที่สำนักงานการไฟฟ้าฯในเขตที่ท่านอยู่ ถ้าครบกำหนดในใบเตือนแล้วยังมิได้ชำระเงิน การไฟฟ้าฯจะงดจ่ายไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้ามีความประสงค์ จะให้การไฟฟ้าฯเก็บเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือน ณ สถานที่อื่นที่สะดวกต่อการชำระเงิน ควรปฏิบัติ ดังนี้2.1 แจ้งทางโทรศัพท์ไปที่การไฟฟ้าฯ 2.2 ติดต่อด้วยตนเองที่การไฟฟ้าฯ 2.3 มีหนังสือแจ้งต่อผู้จัดการไฟฟ้าฯ
อนึ่ง การไฟฟ้าฯได้เปิดบริการชำระค่าไฟฟ้า โดยวิธีหักบัญชีเงินฝากธนาคาร ขอให้สอบถามระเบียบการได้จากสำนักงานการไฟฟ้าฯทุกแห่ง
หรือนำมิเตอร์ไปตรวจสอบที่กองมิเตอร์ และจะถือผลการทดสอบมิเตอร์ที่คลาดเคลื่อนไม่เกิน 2.5%ถือว่ามิเตอร์นั้นถูกต้อง การไฟฟ้าฯจะคิดค่าใช้จ่ายในการทดสอบตามระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ถ้าผลการทดสอบคลาดเคลื่อนแสดงค่าเกิน 2.5 % การไฟฟ้าฯจะเปลี่ยนมิเตอร์ให้ใหม่ และไม่คิดค่าทดสอบมิเตอร์ กับทั้งจะปรับปรุงเพิ่ม หรือลดหนี้สินส่วนที่คลาดเคลื่อน กับค่าไฟฟ้าในเดือนถัดไป
การย้ายมิเตอร์
ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้แสดงต่อพนักงานไฟฟ้าในท้องที่ที่จะขอย้าย คือ
|
การเพิ่มขนาดมิเตอร์
ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิม ต้องไปแจ้งการไฟฟ้าฯเพื่อมาตรวจสอบเพิ่มขนาดมิเตอร์
โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานไปแสดงเมื่อจะขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ ดังนี้
- ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
- ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น