รับเขียนแบบ-ออกแบบ และ คำนวณโหลดระบบไฟฟ้า-สุขาภิบาล

รับคำนวณโหลดไฟฟ้า ออกแบบไฟฟ้าแรงต่ำ รับเขียนแบบ-ออกแบบ และ คำนวณโหลดระบบไฟฟ้า-แบบสุขาภิบาล-แบบห้องน้ำ-แบบระบบบำบัด-คำนวณโหลดระบบไฟฟ้าเพื่อขอมิเตอร์ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า รับปรึกษาเรื่่องการขอไฟฟ้ากับการไฟฟ้าทั้งแรงสูงและแรงต่ำ คำนวณโหลดอาคารชุด อาพาร์ทเม้นท์ คอนโด ก่อนขอมิเตอร์จากการไฟฟ้า รวมถึงการคำนวณโหลดไฟฟ้าโรงงาน บ้าน ห้างร้าน และออกแบบระบบไฟฟ้าแรงต่ำและแรงสูง โทรมาปรึกษาได้ครับเรื่องขอไฟฟ้าจากการไฟฟ้ารวมถึงเรื่องอื่นๆๆ เกี่ยวกับไฟฟ้า
::: กิโก๋ ว.ไฟ :::
E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com
Tel: 091-749-2738
Line ID:kikoee


ตัวอย่า Load Schedule หรือ ตารางโหลด หรือ รายการคำนวณโหลด


วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รับออกแบบระบบไฟฟ้า ออกแบบระบบสุขาภิบาล ออกแบบระบบแอร์ และระบบดับเพลิง


รับออกแบบระบบไฟฟ้า ออกแบบระบบสุขาภิบาล ออกแบบระบบแอร์ และระบบดับเพลิง รับคำนวณโหลดไฟฟ้า ออกแบบไฟฟ้าแรงต่ำ รับเขียนแบบ-ออกแบบ และ คำนวณโหลดระบบไฟฟ้า-แบบสุขาภิบาล-แบบห้องน้ำ-แบบระบบบำบัด-คำนวณโหลดระบบไฟฟ้าเพื่อขอมิเตอร์ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า รับปรึกษาเรื่่องการขอไฟฟ้ากับการไฟฟ้าทั้งแรงสูงและแรงต่ำ คำนวณโหลดอาคารชุด อาพาร์ทเม้นท์ คอนโด ก่อนขอมิเตอร์จากการไฟฟ้า รวมถึงการออกแบบและคำนวณโหลดไฟฟ้าโรงงาน บ้าน ห้างร้าน และออกแบบระบบไฟฟ้าแรงต่ำและแรงสูง โทรมาปรึกษาได้ครับเรื่องขอไฟฟ้าจากการไฟฟ้ารวมถึงเรื่องอื่นๆๆ เกี่ยวกับไฟฟ้า 
ทีมงานให้บริการ:
1. ออกแบบ/เขียนแบบ ตามความต้องการของเจ้าของงาน ให้อยู่ในงบประมาณที่จำกัด
2. ปรึกษาเรื่องไฟฟ้า
3. ทำประมาณราคา
4. ออกแบบงานระบบ
5. แบบเพื่อยื่นขออนุญาต

 **ราคาไม่แพงเพราะเราเป็นฟรีแลนซ์**

รับเขียนแบบ-ออกแบบ และ คำนวณโหลดระบบไฟฟ้า-สุขาภิบาล-ดับเพลิง ตามมาตรฐาน วสท
ค่าบริการ :   แล้วแต่ตกลง / คิดเป็นตรม./ ตามปริมาณงาน / เหมาเป็นJob
รายละเอียด : บ้านพักอาศัย อาคารชุดพักอาศัย ห้างร้าน คอนโด อพาร์ทเม้นท์ โรงงาน สำนักงาน รีสอร์ท
- ระบบไฟฟ้า-สื่อสาร (Lighting Layout)
- ระบบป้องกันฟ้าผ่า (Lightning Protection)
- ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ( Fire Alarm system)
- ระบบกราวด์ (Grounding)
- ระบบทีวี (จานดาวเทียม เสาอากาศ )
- โทรศัพท์
- ปลั๊ก (Receptacle Layout)
- Single Line Diagram ใช้สำหรับขอไฟจากการไฟฟ้า และ ให้กับทางห้าง หรือ อาคาร
- คำนวณโหลด (Balance Load)
- ขนาดสายไฟ (Cable Sizing)
- ขนาดมิเตอร์
- ขนาดเซอร์กิต เบรคเกอร์, อุปกรณ์ป้องกันอันตรายเนื่องจากไฟดูด/ไฟรั่ว
- ตารางโหลด (Panel board Load Schedule) ใช้สำหรับขอไฟจากการไฟฟ้า
-ระบบสุขาภิบาลและดับเพลิง

-----งานเล็ก งานใหญ่ก็ไม่ว่ากันรับทำหมดพูดคุยปรึกษาสอบถามได้เลยครับ-----
 **ราคาไม่แพงเพราะเราเป็นฟรีแลนซ์**

::: กิโก๋ ว.ไฟ :::

E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com

Tel: 091-749-2738

Line ID: kikoee

http://nk-elecdesign.blogspot.com/


ตัวอย่างแบบ SHOP DWG.ระบบไฟฟ้า




ตัวอย่างแบบ SHOP DWG. ระบบไฟฟ้า


ตัวอย่างแบบ SHOP DWG. ระบบสุขาภิบาล CW


ตัวอย่างแบบ SHOP DWG. ระบบสุขาภิบาล SWV



ตัวอย่างแบบ SHOP DWG. ระบบดับเพลิง



วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

รับเขียนแบบ-ออกแบบ และ คำนวณโหลดระบบไฟฟ้า-สุขาภิบาล


รับคำนวณโหลดไฟฟ้า ออกแบบไฟฟ้าแรงต่ำ รับเขียนแบบ-ออกแบบ และ คำนวณโหลดระบบไฟฟ้า-แบบสุขาภิบาล-แบบห้องน้ำ-แบบระบบบำบัด-คำนวณโหลดระบบไฟฟ้าเพื่อขอมิเตอร์ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า รับปรึกษาเรื่่องการขอไฟฟ้ากับการไฟฟ้าทั้งแรงสูงและแรงต่ำ คำนวณโหลดอาคารชุด อาพาร์ทเม้นท์ คอนโด ก่อนขอมิเตอร์จากการไฟฟ้า รวมถึงการคำนวณโหลดไฟฟ้าโรงงาน บ้าน ห้างร้าน และออกแบบระบบไฟฟ้าแรงต่ำและแรงสูง โทรมาปรึกษาได้ครับเรื่องขอไฟฟ้าจากการไฟฟ้ารวมถึงเรื่องอื่นๆๆ เกี่ยวกับไฟฟ้า 
::: กิโก๋ ว.ไฟ :::
E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com

Tel: 091-749-2738

FAX: -

http://nk-elecdesign.blogspot.com/



ตัวอย่าง single line diagram

ตัวอย่าง single line diagram

ตัวอย่า Load Schedule หรือ ตารางโหลด หรือ รายการคำนวณโหลด

ตัวอย่างแบบนั่งร้ายหม้อแปลง

งานทุกงานเขียนด้วนโปรแกรม Auto CAD.
โทรมาปรึกษาได้ครับ...รับคำนวณโหลดไฟฟ้า ออกแบบไฟฟ้า รับปรึกษาเรื่องขอมิเตอร์กับการไฟฟ้า
ขอมิเตอร์ไฟฟ้า, คำนวณโหลดไฟฟ้า, ออกแบบไฟฟ้าแรงต่ำ, แบบไฟฟ้า,รับคำนวณโหลด


::: กิโก๋ ว.ไฟ :::
E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com
Tel: 091-749-2738
Line ID: kikoee
http://nk-elecdesign.blogspot.com/



วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การขอไฟฟ้ากับการไฟฟ้า (การไฟฟ้านครหลวง)


กรณีการขอใช้ไฟฟ้าใหม่ที่อยูอาศัย
1. การขอใช้ไฟฟ้าเครื่องวัดฯ แรงต่ำขนาดไม่เกิน 50
   (150) แอมแปร์
       
ท่านสามารถตรวจสอบว่าสถานที่ขอใช้ไฟฟ้าอยู่ในพื้นที่บริการของการไฟฟ้านครหลวงเขตหรือสาขาย่อยใด 
โดยสังเกตจากแผ่นป้ายโลหะเคลือบพื้นสีน้ำเงิน ที่มีตัวอักษรและตัวเลขสีขาว ซึ่งติดไว้ประจำเครื่องวัดฯบนเสาไฟฟ้าที่อยู่ใกล้เคียง

กรณีขอเปลี่ยนแปลงการใช้ไฟฟ้าและบริการอื่น ๆ
         สามารถตรวจสอบพื้นที่บริการของการไฟฟ้านครหลวงเขตหรือสาขาย่อย จากตัวอักษรหน้าหมายเลขเครื่องวัด ฯ 
ของท่านที่ปรากฎในใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้า

หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไข

         1. มีเสา-สายไฟแรงต่ำผ่าน ไม่มีการปักเสาพาดสายเพิ่มหรือเปลี่ยนหม้อแปลง
         2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าใช้จ่ายพร้อมหลักประกันในวันยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า
         3. สถานที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า ไม่มีหนี้ค่าไฟฟ้าและ/หรือหนี้ค้างชำระอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ไฟฟ้า
         4. การเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในสถานที่ใช้ไฟฟ้า ถูกต้อง ตามมาตรฐานการไฟฟ้านครหลวง 





2.การขอใช้ไฟฟ้าเครื่องวัดฯ แรงต่ำ ที่มีการดำเนินการสายนอก  


หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไข

         1. มีการปักเสาแรงต่ำไม่เกิน 4 ต้น และเปลี่ยนหรือพาดสายแรงต่ำเพิ่มระยะทางไม่เกิน 500 เมตร 
หรือเปลี่ยนหม้อแปลงแต่ไม่มีการเปลี่ยนหรือพาดสายแรงสูงเพิ่ม โดยใช้รถเข้าดำเนินการได้
         2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าต้องชำระค่าใช้จ่ายพร้อมหลักประกันในวันยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า
         3. สถานที่ใช้ไฟฟ้านั้นไม่มีหนี้ค่าไฟฟ้า และ/หรือหนี้ค้างชำระอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ไฟฟ้า
         4. ไม่มีปัญหาเรื่องแนวเขตทางและตำแหน่งเสา
         5. โปรดแสดงใบอนุญาตให้ปักเสาภายใน 5 วันทำการภายหลังการชำระค่าใช้จ่าย การไฟฟ้านครหลวง 

จะติดตั้งเครื่องวัด ฯ ให้แล้วเสร็จภายใน 11 วันทำการ หลังจากได้รับใบอนุญาตให้ปักเสาแล้ว 




อัตราค่าบริการ






ขนาด
การใช้ไฟฟ้า
(แอมแปร์)
เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าค่าบริการการขอใช้ไฟฟ้า (บาท)
แอมแปร์จำนวน
เฟส
ค่าตรวจ
ไฟฟ้า
ค่าต่อ
ไฟฟ้า
ค่าสมทบ
อุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า
เงินประกันรวมทั้งสิ้น
ค่าสมทบ
หม้อแปลงไฟฟ้า
ค่าสมทบ
ก่อสร้าง
รวม
ค่าบริการ
ไม่เกิน 105 (15) 1100 480 -1,500 2,080 300 2,380 
11 - 3015 (45) 1250 1,000 300 3,000 4,550 2,000 6,550 
31 - 7530 (100) 1400 1,750 1,500 6,000 9,650 4,000 13,650 
76 - 10050 (150) 1550 2,500 3,150 9,000 15,200 8,000 23,200 
ไม่เกิน 3015 (45) 3750 3,700 1,350 6,000 11,800 6,000 17,800 
31 - 7530 (100) 31,200 8,600 5,100 12,000 26,900 12,000 38,900 
76 - 10050 (150) 31,650 9,000 15,000 16,000 41,650 24,000 65,650 
101 - 200200 32,950 9,300 34,800 30,000 77,050 48,000 125,050 
201 - 400400 35,650 9,600 74,100 42,300 131,650 96,000 227,650 

*** หมายเหตุ ***

                  1. การไฟฟ้านครหลวงจะเป็นผู้กำหนดขนาด จำนวนและตำแหน่งที่จะติดตั้งเครื่องวัดฯ
 ผู้ขอใช้ไฟฟ้าขอทราบรายละเอียดได้ก่อนการติดตั้ง
                  2. สถานที่ใช้ไฟฟ้าทั่วไป ที่ขอใช้ไฟฟ้าแรงต่ำอยู่ห่างจากสายไฟฟ้าแรงต่ำ

 หรือแรงสูงที่ต้องปักเสาและพาดสายไฟฟ้าแรงต่ำไม่เกิน 4 ต้น และระยะทางตามแนวสายไฟฟ้าไม่เกิน 140 เมตร
                  3. เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า 1 เฟส หมายถึง เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ 2 สาย
                  4. เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า 3 เฟส หมายถึง เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้า 380/220 โวลต์ 4 สาย
                  5. ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้าแรงต่ำว่าจ้างการไฟฟ้านครหลวงเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด 

การไฟฟ้านครหลวงไม่คิดค่าตรวจไฟฟ้า

ขั้นตอนการขอไฟฟ้ากับการไฟฟ้า (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)

 การขอไฟฟ้าประเภทบ้านที่อยู่อาศัย

สถานที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า ต้องมีบ้านเลขที่และหรือมีสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอใช้ไฟฟ้ามาแสดง

สถานที่ติดต่อขอใช้ไฟฟ้า ติดต่อขอแบบฟอร์มคำร้องขอใช้ไฟฟ้าได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าฯทุกแห่ง กรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้องแล้วยื่นแบบฟอร์มที่
  • สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในท้องที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า
    หลักฐานที่จะต้องนำมาแสดง
    1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
    2. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะขอใช้ไฟฟ้า
    3. ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารเอง ถ้ามีจำนวนดวงโคมเต้ารับและ เครื่องไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้แล้ว และ ที่ติดตั้งใหม่รวมกันเกินกว่า 20 จุด (หนึ่งจุดเท่ากับดวงโคม 1 ชุด หรือเต้ารับ 1 ชุด) หรือใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 5 กิโลวัตต์ จะต้องส่งแผนผังการเดินสาย และ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดมาตราส่วนไม่เกิน 1:100 จำนวน 2 ชุด เพื่อใช้ประกอบในการตรวจสอบแผนผังการเดินสายนี้ ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะจ้าง การไฟฟ้าฯจัดทำให้ก็ได้
    4. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าอาจจะมอบให้ผู้อื่นไปทำการแทนได้โดยทำหนังสือมอบอำนาจซึ่งมี ผู้ลงนามเป็นพยาน 2 คนและปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้รับมอบอำนาจ ต้องนำหลักฐานตามข้อ 1-3 ของผู้มอบอำนาจไปแสดงพร้อมหลักฐาน ตามข้อ 1 ของผู้รับมอบอำนาจเองด้วย

ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้า
  1. เมื่อการไฟฟ้าฯได้รับคำร้อง และมีหลักฐานดังกล่าวข้างต้นเรียบร้อยแล้ว การไฟฟ้าฯจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ การเดินสายภายในอาคาร
  2. เมื่อการไฟฟ้าฯได้ทำการตรวจสอบแล้วหากการเดินสายหรือการ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ถูกต้องและ ไม่ปลอดภัย การไฟฟ้าฯจะให้คำแนะนำ เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว จะแจ้งให้ผู้ใช้ไฟฟ้า ทราบ เพื่อชำระค่าธรรมเนียม
  3. ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้ายังไม่ได้ติดตั้งสายภายในอาคาร เมื่อติดตั้งสายภายในอาคารเรียบร้อยแล้ว ขอให้แจ้งการไฟฟ้าฯทราบอีกครั้ง เพื่อดำเนินการตรวจสอบให้ต่อไป
  4. เมื่อตรวจสอบถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โปรดชำระเงินค่าธรรมเนียมที่การไฟฟ้าฯที่ท่านขอใช้ไฟฟ้า และโปรดรับใบเสร็จรับเงิน จากเจ้าหน้าที่เก็บไว้ เป็นหลักฐานต่อไปด้วย ค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้า
    ในการขอใช้ไฟฟ้า ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้าตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ กำหนดอัตราไว้ตามชนิด และขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง โดยสอบถามรายละเอียด ที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ทุกแห่ง ดังนี้

    1. ค่าธรรมเนียมต่อไฟ

    2. ค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร
    3. ค่าส่วนเฉลี่ยการใช้พลังไฟฟ้า
    4. เงินประกันการใช้ไฟฟ้า
    5. ค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังมิเตอร์(ถ้ามี)
    การชำระค่าไฟฟ้าและการตรวจสอบมิเตอร์

    1. การอ่านมิเตอร์ การไฟฟ้าฯจะอ่านหน่วยในมิเตอร์ตามระเบียบของการไฟฟ้าฯ
    2. การชำระค่าไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าไฟฟ้าเมื่อพนักงานเก็บเงินไปเรียกเก็บจากท่าน ถ้าไม่ได้รับชำระพนักงานเก็บเงิน จะมอบใบเตือนให้ผู้ใช้ไฟฟ้า นำเงินไปชำระที่สำนักงานการไฟฟ้าฯในเขตที่ท่านอยู่ ถ้าครบกำหนดในใบเตือนแล้วยังมิได้ชำระเงิน การไฟฟ้าฯจะงดจ่ายไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้ามีความประสงค์ จะให้การไฟฟ้าฯเก็บเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือน ณ สถานที่อื่นที่สะดวกต่อการชำระเงิน ควรปฏิบัติ ดังนี้
    2.1 แจ้งทางโทรศัพท์ไปที่การไฟฟ้าฯ
    2.2 ติดต่อด้วยตนเองที่การไฟฟ้าฯ
    2.3 มีหนังสือแจ้งต่อผู้จัดการไฟฟ้าฯ
    อนึ่ง การไฟฟ้าฯได้เปิดบริการชำระค่าไฟฟ้า โดยวิธีหักบัญชีเงินฝากธนาคาร ขอให้สอบถามระเบียบการได้จากสำนักงานการไฟฟ้าฯทุกแห่ง
    3. การตรวจสอบมิเตอร์ตามที่ผู้ใช้ไฟฟ้าร้องขอ ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใด ที่สงสัยว่ามิเตอร์คลาดเคลื่อน มีสิทธิที่จะร้องขอให้การไฟฟ้าฯ ทำการทดสอบมิเตอร์ดังกล่าวได้ โดยการไฟฟ้าฯจะทดสอบติดตั้งมิเตอร์เปรียบเทียบ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
    หรือนำมิเตอร์ไปตรวจสอบที่กองมิเตอร์ และจะถือผลการทดสอบมิเตอร์ที่คลาดเคลื่อนไม่เกิน 2.5%ถือว่ามิเตอร์นั้นถูกต้อง การไฟฟ้าฯจะคิดค่าใช้จ่ายในการทดสอบตามระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ถ้าผลการทดสอบคลาดเคลื่อนแสดงค่าเกิน 2.5 % การไฟฟ้าฯจะเปลี่ยนมิเตอร์ให้ใหม่ และไม่คิดค่าทดสอบมิเตอร์ กับทั้งจะปรับปรุงเพิ่ม หรือลดหนี้สินส่วนที่คลาดเคลื่อน กับค่าไฟฟ้าในเดือนถัดไป
การย้ายมิเตอร์
ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้แสดงต่อพนักงานไฟฟ้าในท้องที่ที่จะขอย้าย คือ
  1. ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
  2. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
  3. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
  4. ทะเบียนบ้านที่จะย้ายมิเตอร์ไป
การเพิ่มขนาดมิเตอร์

ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิม ต้องไปแจ้งการไฟฟ้าฯเพื่อมาตรวจสอบเพิ่มขนาดมิเตอร์

โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานไปแสดงเมื่อจะขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ ดังนี้

  1. ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
  2. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
  3. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ

รับคำนวณโหลดไฟฟ้า

รับคำนวณโหลดไฟฟ้า ออกแบบไฟฟ้าแรงต่ำ เพื่อขอมิเตอร์ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า รับปรึกษาเรื่่องการขอไฟฟ้ากับการไฟฟ้าทั้งแรงสูงและแรงต่ำ คำนวณโหลดอาคารชุด อาพาร์ทเม้นท์ คอนโด ก่อนขอมิเตอร์จากการไฟฟ้า รวมถึงการคำนวณโหลดไฟฟ้าโรงงาน บ้าน ห้างร้าน และออกแบบระบบไฟฟ้าแรงต่ำและแรงสูง โทรมาปรึกษาได้ครับเรื่องขอไฟฟ้าจากการไฟฟ้ารวมถึงเรื่องอื่นๆๆ เกี่ยวกับไฟฟ้า ผมทำงานกับการไฟฟ้ามาหลายงานสามารถให้คำปรึกษาได้ครับ
::: กิโก๋ ว.ไฟ :::
E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com
::: กิโก๋ ว.ไฟ :::
E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com

Tel: 091-749-2738
Line ID: kikoee
http://nk-elecdesign.blogspot.com/


วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การออกแบบระบบไฟฟ้า




การออกแบบระบบไฟฟ้า



โดยปกติถ้ากล่าวถึงระบบไฟฟ้าจะประกอบด้วยวงจรย่อย สายป้อน และสายเมน ในที่นี้จะกล่าวถึงการคำนวณโหลด เพื่อการออกแบบระบบไฟฟ้า โดยเน้นที่การกำหนดขนาดสายไฟฟ้าและเครื่องป้องกันกระแสเกินสำหรับวงจรไฟฟ้า แสงสว่าง วงจรเต้ารับ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป วิธีการคำนวณนี้จะเป็นไปตามข้อกำหนดในกฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า พ.ศ. 2538 ของการไฟฟ้านครหลวง

วงจรย่อย
วงจรย่อย หมายถึงตัวนำของวงจรระหว่างเครื่องป้องกันกระแสเกินตัวสุดท้ายกับจุดต่อไฟฟ้า
วงจรย่อยที่กล่าวนี้ เป็นวงจรย่อยสำหรับแสงสว่างและเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป สำหรับวงจรย่อยของมอเตอร์ให้ดูในเรื่องวงจรมอเตอร์เนื่องจากมีข้อกำหนดที่ แตกต่างกันออกไป
โหลดในวงจรย่อย
โหลดที่ใช้งานอยู่ในวงจรย่อยแบ่งประเภทของโหลดได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. โหลดไฟฟ้าแสงสว่าง คือหลอดไฟฟ้าที่เห็นใช้งานอยู่ทั่วไป ซึ่งมีหลายชนิดด้วยกันตามจุดประสงค์ของการใช้งาน และสภาพที่ติดตั้ง หลอดไฟที่ควรรู้จักเช่น
( 1 ) หลอดไส้ (Incandescent) หลอดชนิดนี้มีใช้งานทั่วไป ภายในหลอดแก้วจะมี ไส้หลอด และบรรจุไว้ด้วยก๊าซเฉื่อย หรือเป็นสุญญากาศเพื่อป้องกันไส้หลอดไหม้ หลอดประเภทนี้มีรูปร่างหลายแบบตามแต่จะออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน ข้อดีของหลอดประเภทนี้คือ คุณภาพของแสงดี และให้ความสว่างได้ในขณะที่แรงดันต่ำกว่าพิกัดแรงดันของหลอดมากๆ เพียงแต่ความสว่างจะลดลง ขนาดของหลอดจะบอกเป็นวัตต์ ซึ่งจะสามารถหากระแสได้โดยตรงดังนี้

I = P/E

กำหนดให้ I = กระแสไฟฟ้า หน่วยเป็นแอมแปร์
P = กำลังไฟฟ้า หน่วยเป็นวัตต์
E = แรงดันไฟฟ้า หน่วยเป็นโวลต์
ในระบบแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ จะสามารถกำหนดขนาดกระแสสำหรับหลอดแต่ละขนาดได้ ดังนี้
แสดง ขนาดหลอดที่สัมพันธ์กับขนาดกระแสของหลอดไส้
ขนาดหลอด(วัตต์)              กระแส (แอมแปร์)
10                                        0.0455
15                                       0.0682
25                                       0.1136
40                                       0.1818
60                                       0.2727
100                                     0.4545
200                                     0.9091
( 2 ) หลอดฮาร์โลเจน (Tungsten halogen) เป็นหลอดไส้เดียวกันเพียงแต่ภายในหลอดบรรจุก๊าซฮาร์โลเจนไว้ ไส้หลอดจะไม่สลายตัวไปตามอายุการใช้งานของหลอด จึงเป็นผลให้ความสว่างไม่เปลี่ยนแปลงไปมากตามอายุการใช้งานและเนื่องจากเป็น หลอดไส้การคิดกระแสก็เหมือนกับหลอดไส้
( 3 ) หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) หลอดชนิดนี้จัดเป็นหลอดไฟประเภท ดีสชาร์จ ภายในหลอดเคลือบด้วยสารเรืองแสง ในการใช้งานจะต้องมีบัลลาสต์ด้วย และในบัลลาสต์นี้เองจะมีค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสียอยู่ค่าหนึ่ง จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของบัลลาสต์ที่ใช้ว่าดีเพียงใด หลอดชนิดนี้มีรูปร่างต่าง ๆ หลายรูปแบบเช่นกัน
แสดง กระแสโดยประมาณของหลอดฟลูออเรสเซนต์
ขนาดหลอด (วัตต์)            กระแส (แอมแปร์)
8                                              0.145
13                                            0.165
18 และ 20                               0.37
32                                            0.45
38 และ 40                               0.43
60                                            0.75
ปกติหลอดฟลูออเรสเซนต์จะมีค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ต่ำซึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดของบัลลาสต์ที่ใช้ ในการใช้งานอาจลดกระแสได้โดยการปรับค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ให้สูงขึ้นด้วยการ ต่อคาปาซิเตอร์ขนานเข้าในวงจร
2.โหลดเต้ารับ เต้ารับแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. เต้ารับใช้งานทั่วไป คือ เต้ารับที่ติดตั้งอยู่ทั่วไป ไม่ทราบโหลดที่แน่นอน และโหลดจะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการใช้งาน การคิดโหลดเต้ารับคิดจุดละ 180 วีเอ
2. เต้ารับที่ทราบโหลดแน่นอนแล้ว คิดจากขนาดของโหลดที่ใช้เต้ารับ เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า
ข้อสำคัญคือเต้ารับแต่ละตัว ต้องมีพิกัดกระแสไม่ต่ำกว่าขนาดของวงจรย่อย เช่น วงจรย่อยขนาด 15 แอมแปร์ เต้ารับทั้งหมดที่ต่ออยู่ในวงจรย่อยต้องมีพิกัดกระแสไม่ต่ำกว่า 15 แอมแปร์ ด้วย
3.โหลดอื่น ๆ หมายถึงโหลดติดตั้งถาวรที่ต่อใช้ งานอยู่ในวงจรไฟฟ้านอกเหนือไปจากโหลดแสงสว่างและโหลดเต้ารับเช่น เครื่องทำน้ำอุ่น และเครื่องปรับอากาศ
สรุปว่าโหลดของวงจรย่อยอาจแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ โหลดไฟฟ้าแสงสว่าง โหลดเต้ารับ (ทั้งเต้ารับใช้งานทั่วไปและเต้ารับที่ทราบโหลดที่แน่นอนแล้ว) และโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวร การคำนวณวงจรย่อยก็คือการนำโหลดต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วข้างต้นมาคำนวณตามแต่ขนาดและชนิดของโหลด
การคำนวณโหลดของวงจรย่อย
การคำนวณโหลดของวงจรย่อย คือการนำโหลดทั้งหมดที่ต่อใช้งานในวงจรย่อยนั้นมาคำนวณ การคำนวณดำเนินการดังนี้

    1. โหลดแสงสว่างและโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้าติดตั้งถาวรที่ทราบโหลดแน่นอนแล้ว คิดตามที่ติดตั้งจริง
    2. โหลดของเต้ารับใช้งานทั่วไป คิดโหลดเต้ารับละ 180 วีเอ
    3. โหลดของเต้ารับอื่นที่มิได้ใช้งานทั่วไป ให้คิดโหลดตามขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ
ตัวอย่าง
จงคำนวณหาโหลดของวงจรไฟฟ้าต่อไปนี้
วิธีทำ
วงจรย่อยที่ 1
วงจรไฟฟ้าแสงสว่าง ประกอบด้วยหลอดฟลูออเรสเซนต์ ขนาด 40 วัตต์ จำนวน 2 ชุด และหลอดไส้ขนาด 60 วัตต์ จำนวน 2 ชุด
หลอด FL. 40 วัตต์ กระแสหลอดละ = 0.43 แอมแปร์
หลอดไส้ 60 วัตต์ กระแสหลอดละ = 0.2727 แอมแปร์
รวมโหลดทั้งหมด = (2 * 0.43) + (2 * 0.2727) = 1.4 แอมแปร์
วงจรย่อยที่ 2
วงจรเต้ารับ เป็นเต้ารับใช้งานทั่วไป จำนวน 5 ชุด คิดโหลดเต้ารับละ 180 วีเอ
รวมโหลดเต้ารับ = 5 * 180 วีเอ = 900 วีเอ
หรือคิดเป็นกระแส = 900/220 แอมแปร์ = 4.1 แอมแปร์
โดย marymay_gibbongear

การคำนวณโหลดสำหรับอาคารชุด

การคำนวณโหลดสำหรับอาคารชุด


อาคารชุด หมายถึง อาคารทุกประเภทที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522
การ คำนวณโหลดของอาคารชุดจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนของห้องชุดและไฟฟ้าส่วนกลาง การคำนวณโหลดของห้องชุดคำนวณตามขนาดพื้นที่ของห้องชุด และประเภทของอาคารชุดซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทอยู่อาศัย ประเภทอาคารสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไป และประเภทอุตสาหกรรม การคำนวณโหลดห้องชุดกำหนดให้ VA คือโหลดของแต่ละห้องชุด และ A คือพื้นที่ของห้องชุดเป็นตารางเมตร จะคำนวณโหลดของห้องชุดต่างๆดังนี้ห้องชุดประเภทอยู่อาศัย ไม่มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง 
1.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 55 ตารางเมตรVA=(90xA)+1500
2.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 180 ตารางเมตรVA=(90xA)+3000 
3.ห้องชุดขนาดพื้นที่เกิน 180 ตารางเมตรVA=(90xA)+6000ห้องชุดประเภทอยู่อาศัย มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง
1.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 55 ตารางเมตรVA=(20xA)+1500 
2.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 180 ตารางเมตรVA=(20xA)+30003.ห้องชุดขนาดพื้นที่เกิน 180 ตารางเมตรVA=(20xA)+6000ห้องชุดประเภทสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไป ไม่มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง VA=155xA ใช้ได้กับทุกขนาดพื้นที่ห้องชุดประเภทสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไป มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง VA=85xA ใช้ได้กับทุกขนาดพื้นที่ห้องชุดประเภทอุตสาหกรรม VA=220xA ใช้ได้กับทุกขนาดพื้นที่
 การคำนวณโหลดไฟฟ้าส่วนกลาง ไฟฟ้าส่วนกลางคือไฟฟ้าที่ใช้งานร่วมกันของผู้อาศัยในอาคารเช่นไฟฟ้าทางเดิน ลิฟต์ และไฟฟ้าแสงสว่างทั่วไป การคำนวณโหลดเป็นไปตามการคำนวณโหลดไฟฟ้าในสถานที่ทั่วไปคือคิดจากโหลดที่ติด ตั้งจริงและสามารถใช้ค่าดีมานด์แฟกเตอร์ได้ตามที่กำหนดในมาตรฐานการใช้ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์การ รวมโหลดทุดห้องชุดสำหรับแต่ละสายป้อนและอาคารสามารถใช้ค่าโคอินซิเดนท์ แฟกเตอร์เพื่อลดขนาดโหลดรวมได้ การใช้ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ให้เรียงลำดับจากห้องที่คำนวณโหลดสูงสุดก่อนตามลำดับ ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์เป็นดังนี้ 
ตารางที่ 7.1 ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ สำหรับห้องชุดประเภทอยู่อาศัยลำดับห้องชุด ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ 
1-10             0.9 
11-20           0.8 
21-30           0.7 
31-40           0.6 
41 ขึ้นไป       0.5 
ตารางที่ 7.1 ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ สำหรับห้องชุดประเภทสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไปและประเภทอุตสาหกรรมลำดับห้องชุด ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์
 1-10                     1.0 
11 ขึ้นไป               0.85 
หมาย เหตุ การคำนวณโหลดเครื่องปรับอากาศส่วนกลางเป็นไปตามเรื่องการคำนวณโหลดทั่วไป และแยกออกจากห้องชุด อาคารที่ไม่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศทั้งที่เป็นส่วนกลางและในห้องชุด การคำนวณโหลดให้ถือว่าในห้องชุดมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เพราะจะต้องเผื่อไว้สำหรับการติดตั้งในอนาคตด้วย เพราอาคารประเภทนี้ทำการเปลี่ยนสายไฟและอุปกรณ์ยาก และการเพิ่มโหลดอาจหมายถึงต้องเพิ่มขนาดสายป้อน สายเมน หรือแม้แต่อาจต้องเพิ่มขนาดหม้อแปลงไฟฟ้าด้วย ถ้ามีการพิ่มโหลดจำนวนมาก