รับเขียนแบบ-ออกแบบ และ คำนวณโหลดระบบไฟฟ้า-สุขาภิบาล

รับคำนวณโหลดไฟฟ้า ออกแบบไฟฟ้าแรงต่ำ รับเขียนแบบ-ออกแบบ และ คำนวณโหลดระบบไฟฟ้า-แบบสุขาภิบาล-แบบห้องน้ำ-แบบระบบบำบัด-คำนวณโหลดระบบไฟฟ้าเพื่อขอมิเตอร์ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า รับปรึกษาเรื่่องการขอไฟฟ้ากับการไฟฟ้าทั้งแรงสูงและแรงต่ำ คำนวณโหลดอาคารชุด อาพาร์ทเม้นท์ คอนโด ก่อนขอมิเตอร์จากการไฟฟ้า รวมถึงการคำนวณโหลดไฟฟ้าโรงงาน บ้าน ห้างร้าน และออกแบบระบบไฟฟ้าแรงต่ำและแรงสูง โทรมาปรึกษาได้ครับเรื่องขอไฟฟ้าจากการไฟฟ้ารวมถึงเรื่องอื่นๆๆ เกี่ยวกับไฟฟ้า
::: กิโก๋ ว.ไฟ :::
E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com
Tel: 091-749-2738
Line ID:kikoee


ตัวอย่า Load Schedule หรือ ตารางโหลด หรือ รายการคำนวณโหลด


วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การคำนวณโหลดสำหรับอาคารชุด

การคำนวณโหลดสำหรับอาคารชุด


อาคารชุด หมายถึง อาคารทุกประเภทที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522
การ คำนวณโหลดของอาคารชุดจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนของห้องชุดและไฟฟ้าส่วนกลาง การคำนวณโหลดของห้องชุดคำนวณตามขนาดพื้นที่ของห้องชุด และประเภทของอาคารชุดซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทอยู่อาศัย ประเภทอาคารสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไป และประเภทอุตสาหกรรม การคำนวณโหลดห้องชุดกำหนดให้ VA คือโหลดของแต่ละห้องชุด และ A คือพื้นที่ของห้องชุดเป็นตารางเมตร จะคำนวณโหลดของห้องชุดต่างๆดังนี้ห้องชุดประเภทอยู่อาศัย ไม่มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง 
1.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 55 ตารางเมตรVA=(90xA)+1500
2.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 180 ตารางเมตรVA=(90xA)+3000 
3.ห้องชุดขนาดพื้นที่เกิน 180 ตารางเมตรVA=(90xA)+6000ห้องชุดประเภทอยู่อาศัย มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง
1.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 55 ตารางเมตรVA=(20xA)+1500 
2.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 180 ตารางเมตรVA=(20xA)+30003.ห้องชุดขนาดพื้นที่เกิน 180 ตารางเมตรVA=(20xA)+6000ห้องชุดประเภทสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไป ไม่มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง VA=155xA ใช้ได้กับทุกขนาดพื้นที่ห้องชุดประเภทสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไป มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง VA=85xA ใช้ได้กับทุกขนาดพื้นที่ห้องชุดประเภทอุตสาหกรรม VA=220xA ใช้ได้กับทุกขนาดพื้นที่
 การคำนวณโหลดไฟฟ้าส่วนกลาง ไฟฟ้าส่วนกลางคือไฟฟ้าที่ใช้งานร่วมกันของผู้อาศัยในอาคารเช่นไฟฟ้าทางเดิน ลิฟต์ และไฟฟ้าแสงสว่างทั่วไป การคำนวณโหลดเป็นไปตามการคำนวณโหลดไฟฟ้าในสถานที่ทั่วไปคือคิดจากโหลดที่ติด ตั้งจริงและสามารถใช้ค่าดีมานด์แฟกเตอร์ได้ตามที่กำหนดในมาตรฐานการใช้ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์การ รวมโหลดทุดห้องชุดสำหรับแต่ละสายป้อนและอาคารสามารถใช้ค่าโคอินซิเดนท์ แฟกเตอร์เพื่อลดขนาดโหลดรวมได้ การใช้ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ให้เรียงลำดับจากห้องที่คำนวณโหลดสูงสุดก่อนตามลำดับ ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์เป็นดังนี้ 
ตารางที่ 7.1 ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ สำหรับห้องชุดประเภทอยู่อาศัยลำดับห้องชุด ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ 
1-10             0.9 
11-20           0.8 
21-30           0.7 
31-40           0.6 
41 ขึ้นไป       0.5 
ตารางที่ 7.1 ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ สำหรับห้องชุดประเภทสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไปและประเภทอุตสาหกรรมลำดับห้องชุด ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์
 1-10                     1.0 
11 ขึ้นไป               0.85 
หมาย เหตุ การคำนวณโหลดเครื่องปรับอากาศส่วนกลางเป็นไปตามเรื่องการคำนวณโหลดทั่วไป และแยกออกจากห้องชุด อาคารที่ไม่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศทั้งที่เป็นส่วนกลางและในห้องชุด การคำนวณโหลดให้ถือว่าในห้องชุดมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เพราะจะต้องเผื่อไว้สำหรับการติดตั้งในอนาคตด้วย เพราอาคารประเภทนี้ทำการเปลี่ยนสายไฟและอุปกรณ์ยาก และการเพิ่มโหลดอาจหมายถึงต้องเพิ่มขนาดสายป้อน สายเมน หรือแม้แต่อาจต้องเพิ่มขนาดหม้อแปลงไฟฟ้าด้วย ถ้ามีการพิ่มโหลดจำนวนมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น