รับเขียนแบบ-ออกแบบ และ คำนวณโหลดระบบไฟฟ้า-สุขาภิบาล

รับคำนวณโหลดไฟฟ้า ออกแบบไฟฟ้าแรงต่ำ รับเขียนแบบ-ออกแบบ และ คำนวณโหลดระบบไฟฟ้า-แบบสุขาภิบาล-แบบห้องน้ำ-แบบระบบบำบัด-คำนวณโหลดระบบไฟฟ้าเพื่อขอมิเตอร์ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า รับปรึกษาเรื่่องการขอไฟฟ้ากับการไฟฟ้าทั้งแรงสูงและแรงต่ำ คำนวณโหลดอาคารชุด อาพาร์ทเม้นท์ คอนโด ก่อนขอมิเตอร์จากการไฟฟ้า รวมถึงการคำนวณโหลดไฟฟ้าโรงงาน บ้าน ห้างร้าน และออกแบบระบบไฟฟ้าแรงต่ำและแรงสูง โทรมาปรึกษาได้ครับเรื่องขอไฟฟ้าจากการไฟฟ้ารวมถึงเรื่องอื่นๆๆ เกี่ยวกับไฟฟ้า
::: กิโก๋ ว.ไฟ :::
E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com
Tel: 091-749-2738
Line ID:kikoee


ตัวอย่า Load Schedule หรือ ตารางโหลด หรือ รายการคำนวณโหลด


วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การออกแบบระบบไฟฟ้า




การออกแบบระบบไฟฟ้า



โดยปกติถ้ากล่าวถึงระบบไฟฟ้าจะประกอบด้วยวงจรย่อย สายป้อน และสายเมน ในที่นี้จะกล่าวถึงการคำนวณโหลด เพื่อการออกแบบระบบไฟฟ้า โดยเน้นที่การกำหนดขนาดสายไฟฟ้าและเครื่องป้องกันกระแสเกินสำหรับวงจรไฟฟ้า แสงสว่าง วงจรเต้ารับ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป วิธีการคำนวณนี้จะเป็นไปตามข้อกำหนดในกฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า พ.ศ. 2538 ของการไฟฟ้านครหลวง

วงจรย่อย
วงจรย่อย หมายถึงตัวนำของวงจรระหว่างเครื่องป้องกันกระแสเกินตัวสุดท้ายกับจุดต่อไฟฟ้า
วงจรย่อยที่กล่าวนี้ เป็นวงจรย่อยสำหรับแสงสว่างและเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป สำหรับวงจรย่อยของมอเตอร์ให้ดูในเรื่องวงจรมอเตอร์เนื่องจากมีข้อกำหนดที่ แตกต่างกันออกไป
โหลดในวงจรย่อย
โหลดที่ใช้งานอยู่ในวงจรย่อยแบ่งประเภทของโหลดได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. โหลดไฟฟ้าแสงสว่าง คือหลอดไฟฟ้าที่เห็นใช้งานอยู่ทั่วไป ซึ่งมีหลายชนิดด้วยกันตามจุดประสงค์ของการใช้งาน และสภาพที่ติดตั้ง หลอดไฟที่ควรรู้จักเช่น
( 1 ) หลอดไส้ (Incandescent) หลอดชนิดนี้มีใช้งานทั่วไป ภายในหลอดแก้วจะมี ไส้หลอด และบรรจุไว้ด้วยก๊าซเฉื่อย หรือเป็นสุญญากาศเพื่อป้องกันไส้หลอดไหม้ หลอดประเภทนี้มีรูปร่างหลายแบบตามแต่จะออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน ข้อดีของหลอดประเภทนี้คือ คุณภาพของแสงดี และให้ความสว่างได้ในขณะที่แรงดันต่ำกว่าพิกัดแรงดันของหลอดมากๆ เพียงแต่ความสว่างจะลดลง ขนาดของหลอดจะบอกเป็นวัตต์ ซึ่งจะสามารถหากระแสได้โดยตรงดังนี้

I = P/E

กำหนดให้ I = กระแสไฟฟ้า หน่วยเป็นแอมแปร์
P = กำลังไฟฟ้า หน่วยเป็นวัตต์
E = แรงดันไฟฟ้า หน่วยเป็นโวลต์
ในระบบแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ จะสามารถกำหนดขนาดกระแสสำหรับหลอดแต่ละขนาดได้ ดังนี้
แสดง ขนาดหลอดที่สัมพันธ์กับขนาดกระแสของหลอดไส้
ขนาดหลอด(วัตต์)              กระแส (แอมแปร์)
10                                        0.0455
15                                       0.0682
25                                       0.1136
40                                       0.1818
60                                       0.2727
100                                     0.4545
200                                     0.9091
( 2 ) หลอดฮาร์โลเจน (Tungsten halogen) เป็นหลอดไส้เดียวกันเพียงแต่ภายในหลอดบรรจุก๊าซฮาร์โลเจนไว้ ไส้หลอดจะไม่สลายตัวไปตามอายุการใช้งานของหลอด จึงเป็นผลให้ความสว่างไม่เปลี่ยนแปลงไปมากตามอายุการใช้งานและเนื่องจากเป็น หลอดไส้การคิดกระแสก็เหมือนกับหลอดไส้
( 3 ) หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) หลอดชนิดนี้จัดเป็นหลอดไฟประเภท ดีสชาร์จ ภายในหลอดเคลือบด้วยสารเรืองแสง ในการใช้งานจะต้องมีบัลลาสต์ด้วย และในบัลลาสต์นี้เองจะมีค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสียอยู่ค่าหนึ่ง จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของบัลลาสต์ที่ใช้ว่าดีเพียงใด หลอดชนิดนี้มีรูปร่างต่าง ๆ หลายรูปแบบเช่นกัน
แสดง กระแสโดยประมาณของหลอดฟลูออเรสเซนต์
ขนาดหลอด (วัตต์)            กระแส (แอมแปร์)
8                                              0.145
13                                            0.165
18 และ 20                               0.37
32                                            0.45
38 และ 40                               0.43
60                                            0.75
ปกติหลอดฟลูออเรสเซนต์จะมีค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ต่ำซึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดของบัลลาสต์ที่ใช้ ในการใช้งานอาจลดกระแสได้โดยการปรับค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ให้สูงขึ้นด้วยการ ต่อคาปาซิเตอร์ขนานเข้าในวงจร
2.โหลดเต้ารับ เต้ารับแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. เต้ารับใช้งานทั่วไป คือ เต้ารับที่ติดตั้งอยู่ทั่วไป ไม่ทราบโหลดที่แน่นอน และโหลดจะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการใช้งาน การคิดโหลดเต้ารับคิดจุดละ 180 วีเอ
2. เต้ารับที่ทราบโหลดแน่นอนแล้ว คิดจากขนาดของโหลดที่ใช้เต้ารับ เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า
ข้อสำคัญคือเต้ารับแต่ละตัว ต้องมีพิกัดกระแสไม่ต่ำกว่าขนาดของวงจรย่อย เช่น วงจรย่อยขนาด 15 แอมแปร์ เต้ารับทั้งหมดที่ต่ออยู่ในวงจรย่อยต้องมีพิกัดกระแสไม่ต่ำกว่า 15 แอมแปร์ ด้วย
3.โหลดอื่น ๆ หมายถึงโหลดติดตั้งถาวรที่ต่อใช้ งานอยู่ในวงจรไฟฟ้านอกเหนือไปจากโหลดแสงสว่างและโหลดเต้ารับเช่น เครื่องทำน้ำอุ่น และเครื่องปรับอากาศ
สรุปว่าโหลดของวงจรย่อยอาจแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ โหลดไฟฟ้าแสงสว่าง โหลดเต้ารับ (ทั้งเต้ารับใช้งานทั่วไปและเต้ารับที่ทราบโหลดที่แน่นอนแล้ว) และโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวร การคำนวณวงจรย่อยก็คือการนำโหลดต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วข้างต้นมาคำนวณตามแต่ขนาดและชนิดของโหลด
การคำนวณโหลดของวงจรย่อย
การคำนวณโหลดของวงจรย่อย คือการนำโหลดทั้งหมดที่ต่อใช้งานในวงจรย่อยนั้นมาคำนวณ การคำนวณดำเนินการดังนี้

    1. โหลดแสงสว่างและโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้าติดตั้งถาวรที่ทราบโหลดแน่นอนแล้ว คิดตามที่ติดตั้งจริง
    2. โหลดของเต้ารับใช้งานทั่วไป คิดโหลดเต้ารับละ 180 วีเอ
    3. โหลดของเต้ารับอื่นที่มิได้ใช้งานทั่วไป ให้คิดโหลดตามขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ
ตัวอย่าง
จงคำนวณหาโหลดของวงจรไฟฟ้าต่อไปนี้
วิธีทำ
วงจรย่อยที่ 1
วงจรไฟฟ้าแสงสว่าง ประกอบด้วยหลอดฟลูออเรสเซนต์ ขนาด 40 วัตต์ จำนวน 2 ชุด และหลอดไส้ขนาด 60 วัตต์ จำนวน 2 ชุด
หลอด FL. 40 วัตต์ กระแสหลอดละ = 0.43 แอมแปร์
หลอดไส้ 60 วัตต์ กระแสหลอดละ = 0.2727 แอมแปร์
รวมโหลดทั้งหมด = (2 * 0.43) + (2 * 0.2727) = 1.4 แอมแปร์
วงจรย่อยที่ 2
วงจรเต้ารับ เป็นเต้ารับใช้งานทั่วไป จำนวน 5 ชุด คิดโหลดเต้ารับละ 180 วีเอ
รวมโหลดเต้ารับ = 5 * 180 วีเอ = 900 วีเอ
หรือคิดเป็นกระแส = 900/220 แอมแปร์ = 4.1 แอมแปร์
โดย marymay_gibbongear

การคำนวณโหลดสำหรับอาคารชุด

การคำนวณโหลดสำหรับอาคารชุด


อาคารชุด หมายถึง อาคารทุกประเภทที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522
การ คำนวณโหลดของอาคารชุดจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนของห้องชุดและไฟฟ้าส่วนกลาง การคำนวณโหลดของห้องชุดคำนวณตามขนาดพื้นที่ของห้องชุด และประเภทของอาคารชุดซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทอยู่อาศัย ประเภทอาคารสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไป และประเภทอุตสาหกรรม การคำนวณโหลดห้องชุดกำหนดให้ VA คือโหลดของแต่ละห้องชุด และ A คือพื้นที่ของห้องชุดเป็นตารางเมตร จะคำนวณโหลดของห้องชุดต่างๆดังนี้ห้องชุดประเภทอยู่อาศัย ไม่มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง 
1.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 55 ตารางเมตรVA=(90xA)+1500
2.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 180 ตารางเมตรVA=(90xA)+3000 
3.ห้องชุดขนาดพื้นที่เกิน 180 ตารางเมตรVA=(90xA)+6000ห้องชุดประเภทอยู่อาศัย มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง
1.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 55 ตารางเมตรVA=(20xA)+1500 
2.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 180 ตารางเมตรVA=(20xA)+30003.ห้องชุดขนาดพื้นที่เกิน 180 ตารางเมตรVA=(20xA)+6000ห้องชุดประเภทสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไป ไม่มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง VA=155xA ใช้ได้กับทุกขนาดพื้นที่ห้องชุดประเภทสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไป มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง VA=85xA ใช้ได้กับทุกขนาดพื้นที่ห้องชุดประเภทอุตสาหกรรม VA=220xA ใช้ได้กับทุกขนาดพื้นที่
 การคำนวณโหลดไฟฟ้าส่วนกลาง ไฟฟ้าส่วนกลางคือไฟฟ้าที่ใช้งานร่วมกันของผู้อาศัยในอาคารเช่นไฟฟ้าทางเดิน ลิฟต์ และไฟฟ้าแสงสว่างทั่วไป การคำนวณโหลดเป็นไปตามการคำนวณโหลดไฟฟ้าในสถานที่ทั่วไปคือคิดจากโหลดที่ติด ตั้งจริงและสามารถใช้ค่าดีมานด์แฟกเตอร์ได้ตามที่กำหนดในมาตรฐานการใช้ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์การ รวมโหลดทุดห้องชุดสำหรับแต่ละสายป้อนและอาคารสามารถใช้ค่าโคอินซิเดนท์ แฟกเตอร์เพื่อลดขนาดโหลดรวมได้ การใช้ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ให้เรียงลำดับจากห้องที่คำนวณโหลดสูงสุดก่อนตามลำดับ ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์เป็นดังนี้ 
ตารางที่ 7.1 ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ สำหรับห้องชุดประเภทอยู่อาศัยลำดับห้องชุด ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ 
1-10             0.9 
11-20           0.8 
21-30           0.7 
31-40           0.6 
41 ขึ้นไป       0.5 
ตารางที่ 7.1 ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ สำหรับห้องชุดประเภทสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไปและประเภทอุตสาหกรรมลำดับห้องชุด ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์
 1-10                     1.0 
11 ขึ้นไป               0.85 
หมาย เหตุ การคำนวณโหลดเครื่องปรับอากาศส่วนกลางเป็นไปตามเรื่องการคำนวณโหลดทั่วไป และแยกออกจากห้องชุด อาคารที่ไม่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศทั้งที่เป็นส่วนกลางและในห้องชุด การคำนวณโหลดให้ถือว่าในห้องชุดมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เพราะจะต้องเผื่อไว้สำหรับการติดตั้งในอนาคตด้วย เพราอาคารประเภทนี้ทำการเปลี่ยนสายไฟและอุปกรณ์ยาก และการเพิ่มโหลดอาจหมายถึงต้องเพิ่มขนาดสายป้อน สายเมน หรือแม้แต่อาจต้องเพิ่มขนาดหม้อแปลงไฟฟ้าด้วย ถ้ามีการพิ่มโหลดจำนวนมาก

การคำนวณหาขนาดของสายไฟฟ้าวงจรมอเตอร์

1.สายไฟฟ้าวงจรมอเตอร์
     มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องมีการป้องกันการเสียหายเช่นเดียวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ แต่ในการจ่ายไฟฟ้าให้กับมอเตอร์มีข้อกำหนดเป็นการเฉพาะ เนื่องจากกระแสในการเริ่มเดินของมอเตอร์ มีค่าสูงประมาณ 4-8 เท่าของกระแสพิกัดดังนั้นฟิวส์ (Fuse) หรือเซอร์กิตเบรคเกอร์ (Circuit Breaker) ที่นำมาใช้ในการป้องกัน (Protection) ทั้งนี้ต้องมีพิกัดกระแสสูงขึ้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันการปลดวงจร เนื่องมาจากกระแสเริ่มเดินมอเตอร์ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการป้องกันลดลงขาดความเชื่อถือ โดยทั่วไปจึงต้องติดอุปกรณ์ป้องกันโหลดเกิน หรือเรียกว่าโอเวอร์โหลดรีเลย์ (Overload Relay)

       1. สายไฟฟ้าวงจรมอเตอร์
       2. เครื่องปลดวงจร
       3. เครื่องป้องกันการลัดวงจร
       4.เครื่องควบคุมมอเตอร์
       5.เครื่องป้องกันโหลดเกิน

สายไฟฟ้าวงจรมอเตอร์


ก.สายไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์ตัวเดียว
       1.สายไฟฟ้าวงจรย่อยที่จ่ายให้มอเตอร์ตัวเดียว ต้องมีขนาดกระแสไม่ต่ำกว่า 125 เปอร์เซ็นต์ ของกระแสพิกัดโหลดเต็มที่ (Full load Current) ของมอเตอร์ ยกเว้นมอเตอร์หลายความเร็ว (Multispeed Motor) ซึ่งแต่ละตวามเร็วมีพิกัดกระแสต่างกัน ให้ใช้ค่าพิกัดกระแสสูงสุด ซึ่งดูได้จาก แผ่นป้าย (Name Plate)
       2. สายไฟฟ้าของวงจรมอเตอร์ ต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 1.5 ตร.ม สำหรับการกำหนดขนาดสายไฟฟ้าจะต้องดูชนิดและวิธีการเดินสายประกอบด้วย เช่น เดินในท่อหรือเดินลอยในอากาศหรือท่อโลหะ เป็นต้น

ตัวอย่างที่ 1 จงกำหนดขนาดของกระแสไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส ขนาด 10 แรงม้า
380 โวลท์ 17แอมแปร์
            วิธีทำ
                     ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าต้องไม่ต่ำกว่า 125 เปอร์เซ็นต์ของพิกัดกระแสโหลดเต็มที่
                                          =          1.25 ×17
                                          =         21.25 A
                        ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 22 แอมป์แปร

ข. สายไฟฟ้าด้านทุติยภูมิ ของมอเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์ (Wound Rotor)
           มอเตอร์แบบวาว์ดโรเตอร์ จะมีวงจรด้านทุติยภูมิระหว่างโรเตอร์กับเครื่องควบคุม ดังกล่าว
ประกอบด้วยชุดต้านทาน (Rheostat) เพื่อให้วบคุมกระแสขณะเริ่มเดิน และควบคุมความเร็วมอเตอร์
                1. มอเตอร์ไฟฟ้าประเภทใช้งานโหลดต่อเนื่อง สายไฟฟ้าที่ต่อระหว่างด้านปฐมภูมิของมอเตอร์กับเครื่องควบคุมมอเตอร์ต้องมีขนาดกระแสไม่ต่ำกว่า 125 เปอร์เซ็นต์ ของกระแสโหลดเต็มที่ด้านปฐมภูมิของมอเตอร์ (มอเตอร์ใช้งานประเภทต่อเนื่องคือมอเตอร์ที่ใช้งานติดต่อกันนาน 3 ชั่วโมงขึ้นไป)
                2.มอเตอร์ที่ใช้งานไม่ต่อเนื่อง สายไฟฟ้าต้องมีขนาดกระแสไม่ต่ำกว่าจำนวนร้อยละของกระแส
โหลดเต็มที่ ด้านทุติยภูมิซึ่งแตกต่างกันตามประเภทใช้งาน ตารงที่1 ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์ที่ใช้งานต่อเนื่อง


ตารางที่1 ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์ที่ใช้งานไม่ต่อเนื่อง
ประเภทการใช้
ร้อยละของพิกัดกระแสบนแผ่นป้ายประจำเครื่อง
มอเตอร์พิกัด
ใช้งาน5นาที
มอเตอร์พิกัด
ใช้งาน15นาที
มอเตอร์พิกัดใช้งาน
30นาทีและ60
มอเตอร์พิกัด
ใช้งานต่อเนื่อง
ใช้งานระยะสั้นเช่น
มอเตอร์หมุนปิดเปิด
110
120
150
-
ใช้งานเป็นระยะเช่น
มอเตอร์ลิฟท ์
มอเตอร์ปิด-เปิดสะพานฯลฯ
85
85
90
140
ใช้งานเป็นคาบเช่น
มอเตอร์หมุนลูกกลิ้ง
85
90
95
140
ใช้งานที่เปลี่ยนแปลง
110
120
150
200

       สำหรับสายไฟฟ้าต่อระหว่างเครื่องควบคุม และตัวต้านทานทั้งมอเตอร์ใช้งานประเภท ต่อเนื่องและไม่ได้ต่อเนื่องพิกัดกระแสของสายไฟฟ้าต้องมีขนาดไม่ตํ่ากว่าที่กำหนด ในตารงที่2

ตารางที่2 ขนาดสายระหว่างเครื่องควบคุมมอเตอร์ และตัวต้านทาน ในวงจรทุติยภูมิของมอเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์
ประเภทการใช้งานของตัวต้านทาน
ขนาดกระแสของสายคิดเป็นร้อยละ
ของกระแสด้านทุติยภูมิที่โหลดเตต็มที่
        เริ่มเดินอย่างเบา
35
     เริ่มเดินอย่างหนัก
45
       เริ่มเดินอย่างหนักมาก
55
       ใช้งานเป็นระยะห่างมาก
65
       ใช้งานเป็นระยะห่างปานกลาง
75
       ใช้งานเป็นระยะถี่
85
       ใช้งานต่อเนื่องกัน
110
ค.สายไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์หลายตัว
       สายไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์ 1ตัว ต้องมีอัตราการทนกระแสไม่ตํ่ากว่า 125 % ของพิกัดกระแสโหลด
เต็มที่ของมอเตอร์ตัวใหญ่ที่สุดในวงจร รวมกับพิกัด กระแสโหลดเต็มที่ของมอเตอร์ตัวอื่นๆสำหรับสายเมน
ที่ต่อกับมอเตอร์ทุกตัวเรียกว่าสายป้อน
        - ในกรณีมอเตอร์ตัวที่ใหญ่ที่สุดมีหลายตัวให้คิด 125 % เพียงตัวเดียว
        - ในกรณีที่มีมอเตอร์แบบใช้งานไม่ต่อเนื่องปนอยู่ด้วย การหาขนาดของสายไฟฟ้า ให้พิจารณาตามตารงที่1

ตัวอย่างที่ 2 จงกำหนดขนาดกระแสของสายไฟฟ้าของมอเตอร์แต่ละตัวและสายป้อนของมอเตอร์ เหนี่ยวนำ 3 เฟสจำนวน 4 ตัว (M1-M4) เริ่มเดินแบบ Direct On Line Starter

   
มอเตอร์ M1 5 แรงม้า 9.2 แอมแปร์ รหัสอักษร B
    มอเตอร์ M2 7.5 แรงม้า 13 แอมแปร์ รหัสอักษร E
    มอเตอร์M3 10 แรงม้า 17 แอมแปร์ รหัสอักษร F
   
มอเตอร์M4 15 แรงม้า 25 แอมแปร์ ไม่มีรหัสอักษร

วิธีทำ

ก. กำหนดขนาดสายไฟฟ้าวงจรย่อยมอเตอร์แต่ละตัว

    มอเตอร์ M1 ขนาดกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 1.25 × 9.2 = 11.5 A
    มอเตอร์ M2 ขนาดกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 1.25 × 13  =  16 .25 A
    มอเตอร์ M3 ขนาดกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 1.25 × 17  =   21.25 A
    มอเตอร์ M4 ขนาดกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 1.25 × 25  =    32.25 A

ข. ขนาดสายป้อน

               = (1.25 × 25) +17+13+9.2
           = 70.45
        นั่นคือ ขนาดกระแสของสาไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 71 แอมแปร์
  
       การกำหนดขนาดเครื่องป้องกันการลัดวงจรสายป้อน
       ขนาดของฟิวส์ หรือเซอร์กิตเบรคเกอร์ที่ใช้เป็นเครื่องป้องกันการลัดวงจร ของมอเตอร์ตัวที่ใหญ่ที่สุด
รวมกับกระแสโหลดเต็มที่ของมอเตอร์ตัวอื่นๆที่ต่อในวงจรเดียวกัน

ตัวอย่างที่ 3 จากข้อมูลมอเตอร์ 4 ตัวในตัวอย่างที่2 ถ้าต้องการใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ เป็นเครื่องป้องกัน
การลัดวงจร จงกำหนดขนาดเซอร์กิตเบรคเกอร์ของมอเตอร์แต่ละตัวและเซอร์กิตเบรกเกอร์ของสายป้อน

       
วิธีทำ

     ก. ขนาดเซอร์กิตเบรคเกอร์ของมอเตอร์แต่ละตัวพิจารณาตารงที่3
             - M1รหัสอักษร ฺB ไม่เกิน 200 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 200 ×9.2      =   18.4A
                                  100
                 เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 20 แอมแปร์

            - M2รหัสอักษร E ไม่เกิน 200 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 200 × 13    =   26A
                                  100
             เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 30 แอมแปร์

           - M3รหัสอักษรF ไม่เกิน 250 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 250 × 17    =  42.5A
                                  100
              เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 40 แอมแปร์หรือ 50 แอมแปร์
          
           - M4 ไม่มีรหัสอักษรไม่เกิน 250 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 250 × 25   =  62.5A
                                  100
              เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 70 แอมแปร์

      ข.ขนาดเซอร์กิตของสายป้อน

                      = 70 +17+13+9.2 = 109.2
              เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 100 แอมแปร์
ง.วงจรที่มีมอเตอร์
        ขนาดสายป้อน และเครื่องป้องกันการลัดวงจรสายป้อน และเครื่องป้องกันการลัดวงจรสายป้อน
จะใช้หลักการเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว


::: กิโก๋ ว.ไฟ :::
E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com

Line ID: kikoee