รับเขียนแบบ-ออกแบบ และ คำนวณโหลดระบบไฟฟ้า-สุขาภิบาล

รับคำนวณโหลดไฟฟ้า ออกแบบไฟฟ้าแรงต่ำ รับเขียนแบบ-ออกแบบ และ คำนวณโหลดระบบไฟฟ้า-แบบสุขาภิบาล-แบบห้องน้ำ-แบบระบบบำบัด-คำนวณโหลดระบบไฟฟ้าเพื่อขอมิเตอร์ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า รับปรึกษาเรื่่องการขอไฟฟ้ากับการไฟฟ้าทั้งแรงสูงและแรงต่ำ คำนวณโหลดอาคารชุด อาพาร์ทเม้นท์ คอนโด ก่อนขอมิเตอร์จากการไฟฟ้า รวมถึงการคำนวณโหลดไฟฟ้าโรงงาน บ้าน ห้างร้าน และออกแบบระบบไฟฟ้าแรงต่ำและแรงสูง โทรมาปรึกษาได้ครับเรื่องขอไฟฟ้าจากการไฟฟ้ารวมถึงเรื่องอื่นๆๆ เกี่ยวกับไฟฟ้า
::: กิโก๋ ว.ไฟ :::
E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com
Tel: 091-749-2738
Line ID:kikoee


ตัวอย่า Load Schedule หรือ ตารางโหลด หรือ รายการคำนวณโหลด


วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รับออกแบบระบบไฟฟ้า ออกแบบระบบสุขาภิบาล ออกแบบระบบแอร์ และระบบดับเพลิง


รับออกแบบระบบไฟฟ้า ออกแบบระบบสุขาภิบาล ออกแบบระบบแอร์ และระบบดับเพลิง รับคำนวณโหลดไฟฟ้า ออกแบบไฟฟ้าแรงต่ำ รับเขียนแบบ-ออกแบบ และ คำนวณโหลดระบบไฟฟ้า-แบบสุขาภิบาล-แบบห้องน้ำ-แบบระบบบำบัด-คำนวณโหลดระบบไฟฟ้าเพื่อขอมิเตอร์ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า รับปรึกษาเรื่่องการขอไฟฟ้ากับการไฟฟ้าทั้งแรงสูงและแรงต่ำ คำนวณโหลดอาคารชุด อาพาร์ทเม้นท์ คอนโด ก่อนขอมิเตอร์จากการไฟฟ้า รวมถึงการออกแบบและคำนวณโหลดไฟฟ้าโรงงาน บ้าน ห้างร้าน และออกแบบระบบไฟฟ้าแรงต่ำและแรงสูง โทรมาปรึกษาได้ครับเรื่องขอไฟฟ้าจากการไฟฟ้ารวมถึงเรื่องอื่นๆๆ เกี่ยวกับไฟฟ้า 
ทีมงานให้บริการ:
1. ออกแบบ/เขียนแบบ ตามความต้องการของเจ้าของงาน ให้อยู่ในงบประมาณที่จำกัด
2. ปรึกษาเรื่องไฟฟ้า
3. ทำประมาณราคา
4. ออกแบบงานระบบ
5. แบบเพื่อยื่นขออนุญาต

 **ราคาไม่แพงเพราะเราเป็นฟรีแลนซ์**

รับเขียนแบบ-ออกแบบ และ คำนวณโหลดระบบไฟฟ้า-สุขาภิบาล-ดับเพลิง ตามมาตรฐาน วสท
ค่าบริการ :   แล้วแต่ตกลง / คิดเป็นตรม./ ตามปริมาณงาน / เหมาเป็นJob
รายละเอียด : บ้านพักอาศัย อาคารชุดพักอาศัย ห้างร้าน คอนโด อพาร์ทเม้นท์ โรงงาน สำนักงาน รีสอร์ท
- ระบบไฟฟ้า-สื่อสาร (Lighting Layout)
- ระบบป้องกันฟ้าผ่า (Lightning Protection)
- ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ( Fire Alarm system)
- ระบบกราวด์ (Grounding)
- ระบบทีวี (จานดาวเทียม เสาอากาศ )
- โทรศัพท์
- ปลั๊ก (Receptacle Layout)
- Single Line Diagram ใช้สำหรับขอไฟจากการไฟฟ้า และ ให้กับทางห้าง หรือ อาคาร
- คำนวณโหลด (Balance Load)
- ขนาดสายไฟ (Cable Sizing)
- ขนาดมิเตอร์
- ขนาดเซอร์กิต เบรคเกอร์, อุปกรณ์ป้องกันอันตรายเนื่องจากไฟดูด/ไฟรั่ว
- ตารางโหลด (Panel board Load Schedule) ใช้สำหรับขอไฟจากการไฟฟ้า
-ระบบสุขาภิบาลและดับเพลิง

-----งานเล็ก งานใหญ่ก็ไม่ว่ากันรับทำหมดพูดคุยปรึกษาสอบถามได้เลยครับ-----
 **ราคาไม่แพงเพราะเราเป็นฟรีแลนซ์**

::: กิโก๋ ว.ไฟ :::

E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com

Tel: 091-749-2738

Line ID: kikoee

http://nk-elecdesign.blogspot.com/


ตัวอย่างแบบ SHOP DWG.ระบบไฟฟ้า




ตัวอย่างแบบ SHOP DWG. ระบบไฟฟ้า


ตัวอย่างแบบ SHOP DWG. ระบบสุขาภิบาล CW


ตัวอย่างแบบ SHOP DWG. ระบบสุขาภิบาล SWV



ตัวอย่างแบบ SHOP DWG. ระบบดับเพลิง



วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

รับเขียนแบบ-ออกแบบ และ คำนวณโหลดระบบไฟฟ้า-สุขาภิบาล


รับคำนวณโหลดไฟฟ้า ออกแบบไฟฟ้าแรงต่ำ รับเขียนแบบ-ออกแบบ และ คำนวณโหลดระบบไฟฟ้า-แบบสุขาภิบาล-แบบห้องน้ำ-แบบระบบบำบัด-คำนวณโหลดระบบไฟฟ้าเพื่อขอมิเตอร์ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า รับปรึกษาเรื่่องการขอไฟฟ้ากับการไฟฟ้าทั้งแรงสูงและแรงต่ำ คำนวณโหลดอาคารชุด อาพาร์ทเม้นท์ คอนโด ก่อนขอมิเตอร์จากการไฟฟ้า รวมถึงการคำนวณโหลดไฟฟ้าโรงงาน บ้าน ห้างร้าน และออกแบบระบบไฟฟ้าแรงต่ำและแรงสูง โทรมาปรึกษาได้ครับเรื่องขอไฟฟ้าจากการไฟฟ้ารวมถึงเรื่องอื่นๆๆ เกี่ยวกับไฟฟ้า 
::: กิโก๋ ว.ไฟ :::
E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com

Tel: 091-749-2738

FAX: -

http://nk-elecdesign.blogspot.com/



ตัวอย่าง single line diagram

ตัวอย่าง single line diagram

ตัวอย่า Load Schedule หรือ ตารางโหลด หรือ รายการคำนวณโหลด

ตัวอย่างแบบนั่งร้ายหม้อแปลง

งานทุกงานเขียนด้วนโปรแกรม Auto CAD.
โทรมาปรึกษาได้ครับ...รับคำนวณโหลดไฟฟ้า ออกแบบไฟฟ้า รับปรึกษาเรื่องขอมิเตอร์กับการไฟฟ้า
ขอมิเตอร์ไฟฟ้า, คำนวณโหลดไฟฟ้า, ออกแบบไฟฟ้าแรงต่ำ, แบบไฟฟ้า,รับคำนวณโหลด


::: กิโก๋ ว.ไฟ :::
E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com
Tel: 091-749-2738
Line ID: kikoee
http://nk-elecdesign.blogspot.com/



วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การขอไฟฟ้ากับการไฟฟ้า (การไฟฟ้านครหลวง)


กรณีการขอใช้ไฟฟ้าใหม่ที่อยูอาศัย
1. การขอใช้ไฟฟ้าเครื่องวัดฯ แรงต่ำขนาดไม่เกิน 50
   (150) แอมแปร์
       
ท่านสามารถตรวจสอบว่าสถานที่ขอใช้ไฟฟ้าอยู่ในพื้นที่บริการของการไฟฟ้านครหลวงเขตหรือสาขาย่อยใด 
โดยสังเกตจากแผ่นป้ายโลหะเคลือบพื้นสีน้ำเงิน ที่มีตัวอักษรและตัวเลขสีขาว ซึ่งติดไว้ประจำเครื่องวัดฯบนเสาไฟฟ้าที่อยู่ใกล้เคียง

กรณีขอเปลี่ยนแปลงการใช้ไฟฟ้าและบริการอื่น ๆ
         สามารถตรวจสอบพื้นที่บริการของการไฟฟ้านครหลวงเขตหรือสาขาย่อย จากตัวอักษรหน้าหมายเลขเครื่องวัด ฯ 
ของท่านที่ปรากฎในใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้า

หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไข

         1. มีเสา-สายไฟแรงต่ำผ่าน ไม่มีการปักเสาพาดสายเพิ่มหรือเปลี่ยนหม้อแปลง
         2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าใช้จ่ายพร้อมหลักประกันในวันยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า
         3. สถานที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า ไม่มีหนี้ค่าไฟฟ้าและ/หรือหนี้ค้างชำระอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ไฟฟ้า
         4. การเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในสถานที่ใช้ไฟฟ้า ถูกต้อง ตามมาตรฐานการไฟฟ้านครหลวง 





2.การขอใช้ไฟฟ้าเครื่องวัดฯ แรงต่ำ ที่มีการดำเนินการสายนอก  


หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไข

         1. มีการปักเสาแรงต่ำไม่เกิน 4 ต้น และเปลี่ยนหรือพาดสายแรงต่ำเพิ่มระยะทางไม่เกิน 500 เมตร 
หรือเปลี่ยนหม้อแปลงแต่ไม่มีการเปลี่ยนหรือพาดสายแรงสูงเพิ่ม โดยใช้รถเข้าดำเนินการได้
         2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าต้องชำระค่าใช้จ่ายพร้อมหลักประกันในวันยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า
         3. สถานที่ใช้ไฟฟ้านั้นไม่มีหนี้ค่าไฟฟ้า และ/หรือหนี้ค้างชำระอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ไฟฟ้า
         4. ไม่มีปัญหาเรื่องแนวเขตทางและตำแหน่งเสา
         5. โปรดแสดงใบอนุญาตให้ปักเสาภายใน 5 วันทำการภายหลังการชำระค่าใช้จ่าย การไฟฟ้านครหลวง 

จะติดตั้งเครื่องวัด ฯ ให้แล้วเสร็จภายใน 11 วันทำการ หลังจากได้รับใบอนุญาตให้ปักเสาแล้ว 




อัตราค่าบริการ






ขนาด
การใช้ไฟฟ้า
(แอมแปร์)
เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าค่าบริการการขอใช้ไฟฟ้า (บาท)
แอมแปร์จำนวน
เฟส
ค่าตรวจ
ไฟฟ้า
ค่าต่อ
ไฟฟ้า
ค่าสมทบ
อุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า
เงินประกันรวมทั้งสิ้น
ค่าสมทบ
หม้อแปลงไฟฟ้า
ค่าสมทบ
ก่อสร้าง
รวม
ค่าบริการ
ไม่เกิน 105 (15) 1100 480 -1,500 2,080 300 2,380 
11 - 3015 (45) 1250 1,000 300 3,000 4,550 2,000 6,550 
31 - 7530 (100) 1400 1,750 1,500 6,000 9,650 4,000 13,650 
76 - 10050 (150) 1550 2,500 3,150 9,000 15,200 8,000 23,200 
ไม่เกิน 3015 (45) 3750 3,700 1,350 6,000 11,800 6,000 17,800 
31 - 7530 (100) 31,200 8,600 5,100 12,000 26,900 12,000 38,900 
76 - 10050 (150) 31,650 9,000 15,000 16,000 41,650 24,000 65,650 
101 - 200200 32,950 9,300 34,800 30,000 77,050 48,000 125,050 
201 - 400400 35,650 9,600 74,100 42,300 131,650 96,000 227,650 

*** หมายเหตุ ***

                  1. การไฟฟ้านครหลวงจะเป็นผู้กำหนดขนาด จำนวนและตำแหน่งที่จะติดตั้งเครื่องวัดฯ
 ผู้ขอใช้ไฟฟ้าขอทราบรายละเอียดได้ก่อนการติดตั้ง
                  2. สถานที่ใช้ไฟฟ้าทั่วไป ที่ขอใช้ไฟฟ้าแรงต่ำอยู่ห่างจากสายไฟฟ้าแรงต่ำ

 หรือแรงสูงที่ต้องปักเสาและพาดสายไฟฟ้าแรงต่ำไม่เกิน 4 ต้น และระยะทางตามแนวสายไฟฟ้าไม่เกิน 140 เมตร
                  3. เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า 1 เฟส หมายถึง เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ 2 สาย
                  4. เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า 3 เฟส หมายถึง เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้า 380/220 โวลต์ 4 สาย
                  5. ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้าแรงต่ำว่าจ้างการไฟฟ้านครหลวงเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด 

การไฟฟ้านครหลวงไม่คิดค่าตรวจไฟฟ้า

ขั้นตอนการขอไฟฟ้ากับการไฟฟ้า (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)

 การขอไฟฟ้าประเภทบ้านที่อยู่อาศัย

สถานที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า ต้องมีบ้านเลขที่และหรือมีสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอใช้ไฟฟ้ามาแสดง

สถานที่ติดต่อขอใช้ไฟฟ้า ติดต่อขอแบบฟอร์มคำร้องขอใช้ไฟฟ้าได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าฯทุกแห่ง กรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้องแล้วยื่นแบบฟอร์มที่
  • สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในท้องที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า
    หลักฐานที่จะต้องนำมาแสดง
    1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
    2. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะขอใช้ไฟฟ้า
    3. ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารเอง ถ้ามีจำนวนดวงโคมเต้ารับและ เครื่องไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้แล้ว และ ที่ติดตั้งใหม่รวมกันเกินกว่า 20 จุด (หนึ่งจุดเท่ากับดวงโคม 1 ชุด หรือเต้ารับ 1 ชุด) หรือใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 5 กิโลวัตต์ จะต้องส่งแผนผังการเดินสาย และ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดมาตราส่วนไม่เกิน 1:100 จำนวน 2 ชุด เพื่อใช้ประกอบในการตรวจสอบแผนผังการเดินสายนี้ ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะจ้าง การไฟฟ้าฯจัดทำให้ก็ได้
    4. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าอาจจะมอบให้ผู้อื่นไปทำการแทนได้โดยทำหนังสือมอบอำนาจซึ่งมี ผู้ลงนามเป็นพยาน 2 คนและปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้รับมอบอำนาจ ต้องนำหลักฐานตามข้อ 1-3 ของผู้มอบอำนาจไปแสดงพร้อมหลักฐาน ตามข้อ 1 ของผู้รับมอบอำนาจเองด้วย

ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้า
  1. เมื่อการไฟฟ้าฯได้รับคำร้อง และมีหลักฐานดังกล่าวข้างต้นเรียบร้อยแล้ว การไฟฟ้าฯจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ การเดินสายภายในอาคาร
  2. เมื่อการไฟฟ้าฯได้ทำการตรวจสอบแล้วหากการเดินสายหรือการ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ถูกต้องและ ไม่ปลอดภัย การไฟฟ้าฯจะให้คำแนะนำ เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว จะแจ้งให้ผู้ใช้ไฟฟ้า ทราบ เพื่อชำระค่าธรรมเนียม
  3. ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้ายังไม่ได้ติดตั้งสายภายในอาคาร เมื่อติดตั้งสายภายในอาคารเรียบร้อยแล้ว ขอให้แจ้งการไฟฟ้าฯทราบอีกครั้ง เพื่อดำเนินการตรวจสอบให้ต่อไป
  4. เมื่อตรวจสอบถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โปรดชำระเงินค่าธรรมเนียมที่การไฟฟ้าฯที่ท่านขอใช้ไฟฟ้า และโปรดรับใบเสร็จรับเงิน จากเจ้าหน้าที่เก็บไว้ เป็นหลักฐานต่อไปด้วย ค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้า
    ในการขอใช้ไฟฟ้า ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้าตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ กำหนดอัตราไว้ตามชนิด และขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง โดยสอบถามรายละเอียด ที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ทุกแห่ง ดังนี้

    1. ค่าธรรมเนียมต่อไฟ

    2. ค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร
    3. ค่าส่วนเฉลี่ยการใช้พลังไฟฟ้า
    4. เงินประกันการใช้ไฟฟ้า
    5. ค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังมิเตอร์(ถ้ามี)
    การชำระค่าไฟฟ้าและการตรวจสอบมิเตอร์

    1. การอ่านมิเตอร์ การไฟฟ้าฯจะอ่านหน่วยในมิเตอร์ตามระเบียบของการไฟฟ้าฯ
    2. การชำระค่าไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าไฟฟ้าเมื่อพนักงานเก็บเงินไปเรียกเก็บจากท่าน ถ้าไม่ได้รับชำระพนักงานเก็บเงิน จะมอบใบเตือนให้ผู้ใช้ไฟฟ้า นำเงินไปชำระที่สำนักงานการไฟฟ้าฯในเขตที่ท่านอยู่ ถ้าครบกำหนดในใบเตือนแล้วยังมิได้ชำระเงิน การไฟฟ้าฯจะงดจ่ายไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้ามีความประสงค์ จะให้การไฟฟ้าฯเก็บเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือน ณ สถานที่อื่นที่สะดวกต่อการชำระเงิน ควรปฏิบัติ ดังนี้
    2.1 แจ้งทางโทรศัพท์ไปที่การไฟฟ้าฯ
    2.2 ติดต่อด้วยตนเองที่การไฟฟ้าฯ
    2.3 มีหนังสือแจ้งต่อผู้จัดการไฟฟ้าฯ
    อนึ่ง การไฟฟ้าฯได้เปิดบริการชำระค่าไฟฟ้า โดยวิธีหักบัญชีเงินฝากธนาคาร ขอให้สอบถามระเบียบการได้จากสำนักงานการไฟฟ้าฯทุกแห่ง
    3. การตรวจสอบมิเตอร์ตามที่ผู้ใช้ไฟฟ้าร้องขอ ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใด ที่สงสัยว่ามิเตอร์คลาดเคลื่อน มีสิทธิที่จะร้องขอให้การไฟฟ้าฯ ทำการทดสอบมิเตอร์ดังกล่าวได้ โดยการไฟฟ้าฯจะทดสอบติดตั้งมิเตอร์เปรียบเทียบ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
    หรือนำมิเตอร์ไปตรวจสอบที่กองมิเตอร์ และจะถือผลการทดสอบมิเตอร์ที่คลาดเคลื่อนไม่เกิน 2.5%ถือว่ามิเตอร์นั้นถูกต้อง การไฟฟ้าฯจะคิดค่าใช้จ่ายในการทดสอบตามระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ถ้าผลการทดสอบคลาดเคลื่อนแสดงค่าเกิน 2.5 % การไฟฟ้าฯจะเปลี่ยนมิเตอร์ให้ใหม่ และไม่คิดค่าทดสอบมิเตอร์ กับทั้งจะปรับปรุงเพิ่ม หรือลดหนี้สินส่วนที่คลาดเคลื่อน กับค่าไฟฟ้าในเดือนถัดไป
การย้ายมิเตอร์
ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้แสดงต่อพนักงานไฟฟ้าในท้องที่ที่จะขอย้าย คือ
  1. ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
  2. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
  3. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
  4. ทะเบียนบ้านที่จะย้ายมิเตอร์ไป
การเพิ่มขนาดมิเตอร์

ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิม ต้องไปแจ้งการไฟฟ้าฯเพื่อมาตรวจสอบเพิ่มขนาดมิเตอร์

โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานไปแสดงเมื่อจะขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ ดังนี้

  1. ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
  2. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
  3. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ

รับคำนวณโหลดไฟฟ้า

รับคำนวณโหลดไฟฟ้า ออกแบบไฟฟ้าแรงต่ำ เพื่อขอมิเตอร์ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า รับปรึกษาเรื่่องการขอไฟฟ้ากับการไฟฟ้าทั้งแรงสูงและแรงต่ำ คำนวณโหลดอาคารชุด อาพาร์ทเม้นท์ คอนโด ก่อนขอมิเตอร์จากการไฟฟ้า รวมถึงการคำนวณโหลดไฟฟ้าโรงงาน บ้าน ห้างร้าน และออกแบบระบบไฟฟ้าแรงต่ำและแรงสูง โทรมาปรึกษาได้ครับเรื่องขอไฟฟ้าจากการไฟฟ้ารวมถึงเรื่องอื่นๆๆ เกี่ยวกับไฟฟ้า ผมทำงานกับการไฟฟ้ามาหลายงานสามารถให้คำปรึกษาได้ครับ
::: กิโก๋ ว.ไฟ :::
E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com
::: กิโก๋ ว.ไฟ :::
E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com

Tel: 091-749-2738
Line ID: kikoee
http://nk-elecdesign.blogspot.com/


วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การออกแบบระบบไฟฟ้า




การออกแบบระบบไฟฟ้า



โดยปกติถ้ากล่าวถึงระบบไฟฟ้าจะประกอบด้วยวงจรย่อย สายป้อน และสายเมน ในที่นี้จะกล่าวถึงการคำนวณโหลด เพื่อการออกแบบระบบไฟฟ้า โดยเน้นที่การกำหนดขนาดสายไฟฟ้าและเครื่องป้องกันกระแสเกินสำหรับวงจรไฟฟ้า แสงสว่าง วงจรเต้ารับ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป วิธีการคำนวณนี้จะเป็นไปตามข้อกำหนดในกฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า พ.ศ. 2538 ของการไฟฟ้านครหลวง

วงจรย่อย
วงจรย่อย หมายถึงตัวนำของวงจรระหว่างเครื่องป้องกันกระแสเกินตัวสุดท้ายกับจุดต่อไฟฟ้า
วงจรย่อยที่กล่าวนี้ เป็นวงจรย่อยสำหรับแสงสว่างและเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป สำหรับวงจรย่อยของมอเตอร์ให้ดูในเรื่องวงจรมอเตอร์เนื่องจากมีข้อกำหนดที่ แตกต่างกันออกไป
โหลดในวงจรย่อย
โหลดที่ใช้งานอยู่ในวงจรย่อยแบ่งประเภทของโหลดได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. โหลดไฟฟ้าแสงสว่าง คือหลอดไฟฟ้าที่เห็นใช้งานอยู่ทั่วไป ซึ่งมีหลายชนิดด้วยกันตามจุดประสงค์ของการใช้งาน และสภาพที่ติดตั้ง หลอดไฟที่ควรรู้จักเช่น
( 1 ) หลอดไส้ (Incandescent) หลอดชนิดนี้มีใช้งานทั่วไป ภายในหลอดแก้วจะมี ไส้หลอด และบรรจุไว้ด้วยก๊าซเฉื่อย หรือเป็นสุญญากาศเพื่อป้องกันไส้หลอดไหม้ หลอดประเภทนี้มีรูปร่างหลายแบบตามแต่จะออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน ข้อดีของหลอดประเภทนี้คือ คุณภาพของแสงดี และให้ความสว่างได้ในขณะที่แรงดันต่ำกว่าพิกัดแรงดันของหลอดมากๆ เพียงแต่ความสว่างจะลดลง ขนาดของหลอดจะบอกเป็นวัตต์ ซึ่งจะสามารถหากระแสได้โดยตรงดังนี้

I = P/E

กำหนดให้ I = กระแสไฟฟ้า หน่วยเป็นแอมแปร์
P = กำลังไฟฟ้า หน่วยเป็นวัตต์
E = แรงดันไฟฟ้า หน่วยเป็นโวลต์
ในระบบแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ จะสามารถกำหนดขนาดกระแสสำหรับหลอดแต่ละขนาดได้ ดังนี้
แสดง ขนาดหลอดที่สัมพันธ์กับขนาดกระแสของหลอดไส้
ขนาดหลอด(วัตต์)              กระแส (แอมแปร์)
10                                        0.0455
15                                       0.0682
25                                       0.1136
40                                       0.1818
60                                       0.2727
100                                     0.4545
200                                     0.9091
( 2 ) หลอดฮาร์โลเจน (Tungsten halogen) เป็นหลอดไส้เดียวกันเพียงแต่ภายในหลอดบรรจุก๊าซฮาร์โลเจนไว้ ไส้หลอดจะไม่สลายตัวไปตามอายุการใช้งานของหลอด จึงเป็นผลให้ความสว่างไม่เปลี่ยนแปลงไปมากตามอายุการใช้งานและเนื่องจากเป็น หลอดไส้การคิดกระแสก็เหมือนกับหลอดไส้
( 3 ) หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) หลอดชนิดนี้จัดเป็นหลอดไฟประเภท ดีสชาร์จ ภายในหลอดเคลือบด้วยสารเรืองแสง ในการใช้งานจะต้องมีบัลลาสต์ด้วย และในบัลลาสต์นี้เองจะมีค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสียอยู่ค่าหนึ่ง จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของบัลลาสต์ที่ใช้ว่าดีเพียงใด หลอดชนิดนี้มีรูปร่างต่าง ๆ หลายรูปแบบเช่นกัน
แสดง กระแสโดยประมาณของหลอดฟลูออเรสเซนต์
ขนาดหลอด (วัตต์)            กระแส (แอมแปร์)
8                                              0.145
13                                            0.165
18 และ 20                               0.37
32                                            0.45
38 และ 40                               0.43
60                                            0.75
ปกติหลอดฟลูออเรสเซนต์จะมีค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ต่ำซึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดของบัลลาสต์ที่ใช้ ในการใช้งานอาจลดกระแสได้โดยการปรับค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ให้สูงขึ้นด้วยการ ต่อคาปาซิเตอร์ขนานเข้าในวงจร
2.โหลดเต้ารับ เต้ารับแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. เต้ารับใช้งานทั่วไป คือ เต้ารับที่ติดตั้งอยู่ทั่วไป ไม่ทราบโหลดที่แน่นอน และโหลดจะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการใช้งาน การคิดโหลดเต้ารับคิดจุดละ 180 วีเอ
2. เต้ารับที่ทราบโหลดแน่นอนแล้ว คิดจากขนาดของโหลดที่ใช้เต้ารับ เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า
ข้อสำคัญคือเต้ารับแต่ละตัว ต้องมีพิกัดกระแสไม่ต่ำกว่าขนาดของวงจรย่อย เช่น วงจรย่อยขนาด 15 แอมแปร์ เต้ารับทั้งหมดที่ต่ออยู่ในวงจรย่อยต้องมีพิกัดกระแสไม่ต่ำกว่า 15 แอมแปร์ ด้วย
3.โหลดอื่น ๆ หมายถึงโหลดติดตั้งถาวรที่ต่อใช้ งานอยู่ในวงจรไฟฟ้านอกเหนือไปจากโหลดแสงสว่างและโหลดเต้ารับเช่น เครื่องทำน้ำอุ่น และเครื่องปรับอากาศ
สรุปว่าโหลดของวงจรย่อยอาจแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ โหลดไฟฟ้าแสงสว่าง โหลดเต้ารับ (ทั้งเต้ารับใช้งานทั่วไปและเต้ารับที่ทราบโหลดที่แน่นอนแล้ว) และโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวร การคำนวณวงจรย่อยก็คือการนำโหลดต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วข้างต้นมาคำนวณตามแต่ขนาดและชนิดของโหลด
การคำนวณโหลดของวงจรย่อย
การคำนวณโหลดของวงจรย่อย คือการนำโหลดทั้งหมดที่ต่อใช้งานในวงจรย่อยนั้นมาคำนวณ การคำนวณดำเนินการดังนี้

    1. โหลดแสงสว่างและโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้าติดตั้งถาวรที่ทราบโหลดแน่นอนแล้ว คิดตามที่ติดตั้งจริง
    2. โหลดของเต้ารับใช้งานทั่วไป คิดโหลดเต้ารับละ 180 วีเอ
    3. โหลดของเต้ารับอื่นที่มิได้ใช้งานทั่วไป ให้คิดโหลดตามขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ
ตัวอย่าง
จงคำนวณหาโหลดของวงจรไฟฟ้าต่อไปนี้
วิธีทำ
วงจรย่อยที่ 1
วงจรไฟฟ้าแสงสว่าง ประกอบด้วยหลอดฟลูออเรสเซนต์ ขนาด 40 วัตต์ จำนวน 2 ชุด และหลอดไส้ขนาด 60 วัตต์ จำนวน 2 ชุด
หลอด FL. 40 วัตต์ กระแสหลอดละ = 0.43 แอมแปร์
หลอดไส้ 60 วัตต์ กระแสหลอดละ = 0.2727 แอมแปร์
รวมโหลดทั้งหมด = (2 * 0.43) + (2 * 0.2727) = 1.4 แอมแปร์
วงจรย่อยที่ 2
วงจรเต้ารับ เป็นเต้ารับใช้งานทั่วไป จำนวน 5 ชุด คิดโหลดเต้ารับละ 180 วีเอ
รวมโหลดเต้ารับ = 5 * 180 วีเอ = 900 วีเอ
หรือคิดเป็นกระแส = 900/220 แอมแปร์ = 4.1 แอมแปร์
โดย marymay_gibbongear

การคำนวณโหลดสำหรับอาคารชุด

การคำนวณโหลดสำหรับอาคารชุด


อาคารชุด หมายถึง อาคารทุกประเภทที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522
การ คำนวณโหลดของอาคารชุดจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนของห้องชุดและไฟฟ้าส่วนกลาง การคำนวณโหลดของห้องชุดคำนวณตามขนาดพื้นที่ของห้องชุด และประเภทของอาคารชุดซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทอยู่อาศัย ประเภทอาคารสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไป และประเภทอุตสาหกรรม การคำนวณโหลดห้องชุดกำหนดให้ VA คือโหลดของแต่ละห้องชุด และ A คือพื้นที่ของห้องชุดเป็นตารางเมตร จะคำนวณโหลดของห้องชุดต่างๆดังนี้ห้องชุดประเภทอยู่อาศัย ไม่มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง 
1.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 55 ตารางเมตรVA=(90xA)+1500
2.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 180 ตารางเมตรVA=(90xA)+3000 
3.ห้องชุดขนาดพื้นที่เกิน 180 ตารางเมตรVA=(90xA)+6000ห้องชุดประเภทอยู่อาศัย มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง
1.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 55 ตารางเมตรVA=(20xA)+1500 
2.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 180 ตารางเมตรVA=(20xA)+30003.ห้องชุดขนาดพื้นที่เกิน 180 ตารางเมตรVA=(20xA)+6000ห้องชุดประเภทสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไป ไม่มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง VA=155xA ใช้ได้กับทุกขนาดพื้นที่ห้องชุดประเภทสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไป มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง VA=85xA ใช้ได้กับทุกขนาดพื้นที่ห้องชุดประเภทอุตสาหกรรม VA=220xA ใช้ได้กับทุกขนาดพื้นที่
 การคำนวณโหลดไฟฟ้าส่วนกลาง ไฟฟ้าส่วนกลางคือไฟฟ้าที่ใช้งานร่วมกันของผู้อาศัยในอาคารเช่นไฟฟ้าทางเดิน ลิฟต์ และไฟฟ้าแสงสว่างทั่วไป การคำนวณโหลดเป็นไปตามการคำนวณโหลดไฟฟ้าในสถานที่ทั่วไปคือคิดจากโหลดที่ติด ตั้งจริงและสามารถใช้ค่าดีมานด์แฟกเตอร์ได้ตามที่กำหนดในมาตรฐานการใช้ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์การ รวมโหลดทุดห้องชุดสำหรับแต่ละสายป้อนและอาคารสามารถใช้ค่าโคอินซิเดนท์ แฟกเตอร์เพื่อลดขนาดโหลดรวมได้ การใช้ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ให้เรียงลำดับจากห้องที่คำนวณโหลดสูงสุดก่อนตามลำดับ ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์เป็นดังนี้ 
ตารางที่ 7.1 ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ สำหรับห้องชุดประเภทอยู่อาศัยลำดับห้องชุด ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ 
1-10             0.9 
11-20           0.8 
21-30           0.7 
31-40           0.6 
41 ขึ้นไป       0.5 
ตารางที่ 7.1 ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ สำหรับห้องชุดประเภทสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไปและประเภทอุตสาหกรรมลำดับห้องชุด ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์
 1-10                     1.0 
11 ขึ้นไป               0.85 
หมาย เหตุ การคำนวณโหลดเครื่องปรับอากาศส่วนกลางเป็นไปตามเรื่องการคำนวณโหลดทั่วไป และแยกออกจากห้องชุด อาคารที่ไม่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศทั้งที่เป็นส่วนกลางและในห้องชุด การคำนวณโหลดให้ถือว่าในห้องชุดมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เพราะจะต้องเผื่อไว้สำหรับการติดตั้งในอนาคตด้วย เพราอาคารประเภทนี้ทำการเปลี่ยนสายไฟและอุปกรณ์ยาก และการเพิ่มโหลดอาจหมายถึงต้องเพิ่มขนาดสายป้อน สายเมน หรือแม้แต่อาจต้องเพิ่มขนาดหม้อแปลงไฟฟ้าด้วย ถ้ามีการพิ่มโหลดจำนวนมาก

การคำนวณหาขนาดของสายไฟฟ้าวงจรมอเตอร์

1.สายไฟฟ้าวงจรมอเตอร์
     มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องมีการป้องกันการเสียหายเช่นเดียวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ แต่ในการจ่ายไฟฟ้าให้กับมอเตอร์มีข้อกำหนดเป็นการเฉพาะ เนื่องจากกระแสในการเริ่มเดินของมอเตอร์ มีค่าสูงประมาณ 4-8 เท่าของกระแสพิกัดดังนั้นฟิวส์ (Fuse) หรือเซอร์กิตเบรคเกอร์ (Circuit Breaker) ที่นำมาใช้ในการป้องกัน (Protection) ทั้งนี้ต้องมีพิกัดกระแสสูงขึ้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันการปลดวงจร เนื่องมาจากกระแสเริ่มเดินมอเตอร์ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการป้องกันลดลงขาดความเชื่อถือ โดยทั่วไปจึงต้องติดอุปกรณ์ป้องกันโหลดเกิน หรือเรียกว่าโอเวอร์โหลดรีเลย์ (Overload Relay)

       1. สายไฟฟ้าวงจรมอเตอร์
       2. เครื่องปลดวงจร
       3. เครื่องป้องกันการลัดวงจร
       4.เครื่องควบคุมมอเตอร์
       5.เครื่องป้องกันโหลดเกิน

สายไฟฟ้าวงจรมอเตอร์


ก.สายไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์ตัวเดียว
       1.สายไฟฟ้าวงจรย่อยที่จ่ายให้มอเตอร์ตัวเดียว ต้องมีขนาดกระแสไม่ต่ำกว่า 125 เปอร์เซ็นต์ ของกระแสพิกัดโหลดเต็มที่ (Full load Current) ของมอเตอร์ ยกเว้นมอเตอร์หลายความเร็ว (Multispeed Motor) ซึ่งแต่ละตวามเร็วมีพิกัดกระแสต่างกัน ให้ใช้ค่าพิกัดกระแสสูงสุด ซึ่งดูได้จาก แผ่นป้าย (Name Plate)
       2. สายไฟฟ้าของวงจรมอเตอร์ ต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 1.5 ตร.ม สำหรับการกำหนดขนาดสายไฟฟ้าจะต้องดูชนิดและวิธีการเดินสายประกอบด้วย เช่น เดินในท่อหรือเดินลอยในอากาศหรือท่อโลหะ เป็นต้น

ตัวอย่างที่ 1 จงกำหนดขนาดของกระแสไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส ขนาด 10 แรงม้า
380 โวลท์ 17แอมแปร์
            วิธีทำ
                     ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าต้องไม่ต่ำกว่า 125 เปอร์เซ็นต์ของพิกัดกระแสโหลดเต็มที่
                                          =          1.25 ×17
                                          =         21.25 A
                        ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 22 แอมป์แปร

ข. สายไฟฟ้าด้านทุติยภูมิ ของมอเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์ (Wound Rotor)
           มอเตอร์แบบวาว์ดโรเตอร์ จะมีวงจรด้านทุติยภูมิระหว่างโรเตอร์กับเครื่องควบคุม ดังกล่าว
ประกอบด้วยชุดต้านทาน (Rheostat) เพื่อให้วบคุมกระแสขณะเริ่มเดิน และควบคุมความเร็วมอเตอร์
                1. มอเตอร์ไฟฟ้าประเภทใช้งานโหลดต่อเนื่อง สายไฟฟ้าที่ต่อระหว่างด้านปฐมภูมิของมอเตอร์กับเครื่องควบคุมมอเตอร์ต้องมีขนาดกระแสไม่ต่ำกว่า 125 เปอร์เซ็นต์ ของกระแสโหลดเต็มที่ด้านปฐมภูมิของมอเตอร์ (มอเตอร์ใช้งานประเภทต่อเนื่องคือมอเตอร์ที่ใช้งานติดต่อกันนาน 3 ชั่วโมงขึ้นไป)
                2.มอเตอร์ที่ใช้งานไม่ต่อเนื่อง สายไฟฟ้าต้องมีขนาดกระแสไม่ต่ำกว่าจำนวนร้อยละของกระแส
โหลดเต็มที่ ด้านทุติยภูมิซึ่งแตกต่างกันตามประเภทใช้งาน ตารงที่1 ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์ที่ใช้งานต่อเนื่อง


ตารางที่1 ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์ที่ใช้งานไม่ต่อเนื่อง
ประเภทการใช้
ร้อยละของพิกัดกระแสบนแผ่นป้ายประจำเครื่อง
มอเตอร์พิกัด
ใช้งาน5นาที
มอเตอร์พิกัด
ใช้งาน15นาที
มอเตอร์พิกัดใช้งาน
30นาทีและ60
มอเตอร์พิกัด
ใช้งานต่อเนื่อง
ใช้งานระยะสั้นเช่น
มอเตอร์หมุนปิดเปิด
110
120
150
-
ใช้งานเป็นระยะเช่น
มอเตอร์ลิฟท ์
มอเตอร์ปิด-เปิดสะพานฯลฯ
85
85
90
140
ใช้งานเป็นคาบเช่น
มอเตอร์หมุนลูกกลิ้ง
85
90
95
140
ใช้งานที่เปลี่ยนแปลง
110
120
150
200

       สำหรับสายไฟฟ้าต่อระหว่างเครื่องควบคุม และตัวต้านทานทั้งมอเตอร์ใช้งานประเภท ต่อเนื่องและไม่ได้ต่อเนื่องพิกัดกระแสของสายไฟฟ้าต้องมีขนาดไม่ตํ่ากว่าที่กำหนด ในตารงที่2

ตารางที่2 ขนาดสายระหว่างเครื่องควบคุมมอเตอร์ และตัวต้านทาน ในวงจรทุติยภูมิของมอเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์
ประเภทการใช้งานของตัวต้านทาน
ขนาดกระแสของสายคิดเป็นร้อยละ
ของกระแสด้านทุติยภูมิที่โหลดเตต็มที่
        เริ่มเดินอย่างเบา
35
     เริ่มเดินอย่างหนัก
45
       เริ่มเดินอย่างหนักมาก
55
       ใช้งานเป็นระยะห่างมาก
65
       ใช้งานเป็นระยะห่างปานกลาง
75
       ใช้งานเป็นระยะถี่
85
       ใช้งานต่อเนื่องกัน
110
ค.สายไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์หลายตัว
       สายไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์ 1ตัว ต้องมีอัตราการทนกระแสไม่ตํ่ากว่า 125 % ของพิกัดกระแสโหลด
เต็มที่ของมอเตอร์ตัวใหญ่ที่สุดในวงจร รวมกับพิกัด กระแสโหลดเต็มที่ของมอเตอร์ตัวอื่นๆสำหรับสายเมน
ที่ต่อกับมอเตอร์ทุกตัวเรียกว่าสายป้อน
        - ในกรณีมอเตอร์ตัวที่ใหญ่ที่สุดมีหลายตัวให้คิด 125 % เพียงตัวเดียว
        - ในกรณีที่มีมอเตอร์แบบใช้งานไม่ต่อเนื่องปนอยู่ด้วย การหาขนาดของสายไฟฟ้า ให้พิจารณาตามตารงที่1

ตัวอย่างที่ 2 จงกำหนดขนาดกระแสของสายไฟฟ้าของมอเตอร์แต่ละตัวและสายป้อนของมอเตอร์ เหนี่ยวนำ 3 เฟสจำนวน 4 ตัว (M1-M4) เริ่มเดินแบบ Direct On Line Starter

   
มอเตอร์ M1 5 แรงม้า 9.2 แอมแปร์ รหัสอักษร B
    มอเตอร์ M2 7.5 แรงม้า 13 แอมแปร์ รหัสอักษร E
    มอเตอร์M3 10 แรงม้า 17 แอมแปร์ รหัสอักษร F
   
มอเตอร์M4 15 แรงม้า 25 แอมแปร์ ไม่มีรหัสอักษร

วิธีทำ

ก. กำหนดขนาดสายไฟฟ้าวงจรย่อยมอเตอร์แต่ละตัว

    มอเตอร์ M1 ขนาดกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 1.25 × 9.2 = 11.5 A
    มอเตอร์ M2 ขนาดกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 1.25 × 13  =  16 .25 A
    มอเตอร์ M3 ขนาดกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 1.25 × 17  =   21.25 A
    มอเตอร์ M4 ขนาดกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 1.25 × 25  =    32.25 A

ข. ขนาดสายป้อน

               = (1.25 × 25) +17+13+9.2
           = 70.45
        นั่นคือ ขนาดกระแสของสาไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 71 แอมแปร์
  
       การกำหนดขนาดเครื่องป้องกันการลัดวงจรสายป้อน
       ขนาดของฟิวส์ หรือเซอร์กิตเบรคเกอร์ที่ใช้เป็นเครื่องป้องกันการลัดวงจร ของมอเตอร์ตัวที่ใหญ่ที่สุด
รวมกับกระแสโหลดเต็มที่ของมอเตอร์ตัวอื่นๆที่ต่อในวงจรเดียวกัน

ตัวอย่างที่ 3 จากข้อมูลมอเตอร์ 4 ตัวในตัวอย่างที่2 ถ้าต้องการใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ เป็นเครื่องป้องกัน
การลัดวงจร จงกำหนดขนาดเซอร์กิตเบรคเกอร์ของมอเตอร์แต่ละตัวและเซอร์กิตเบรกเกอร์ของสายป้อน

       
วิธีทำ

     ก. ขนาดเซอร์กิตเบรคเกอร์ของมอเตอร์แต่ละตัวพิจารณาตารงที่3
             - M1รหัสอักษร ฺB ไม่เกิน 200 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 200 ×9.2      =   18.4A
                                  100
                 เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 20 แอมแปร์

            - M2รหัสอักษร E ไม่เกิน 200 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 200 × 13    =   26A
                                  100
             เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 30 แอมแปร์

           - M3รหัสอักษรF ไม่เกิน 250 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 250 × 17    =  42.5A
                                  100
              เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 40 แอมแปร์หรือ 50 แอมแปร์
          
           - M4 ไม่มีรหัสอักษรไม่เกิน 250 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 250 × 25   =  62.5A
                                  100
              เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 70 แอมแปร์

      ข.ขนาดเซอร์กิตของสายป้อน

                      = 70 +17+13+9.2 = 109.2
              เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 100 แอมแปร์
ง.วงจรที่มีมอเตอร์
        ขนาดสายป้อน และเครื่องป้องกันการลัดวงจรสายป้อน และเครื่องป้องกันการลัดวงจรสายป้อน
จะใช้หลักการเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว


::: กิโก๋ ว.ไฟ :::
E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com

Line ID: kikoee



วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การออกแบบระบบไฟฟ้าและการคำานวณโหลดระบบไฟฟ้า

::: กิโก๋ ว.ไฟ :::
E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com
Line ID: kikoee
Tel: 091-749-2738
                  
 การออกแบบระบบไฟฟ้าและการคำานวณโหลดระบบไฟฟ้างานออกแบบระบบไฟฟ้าเป็นงานที่วิศวกรไฟฟ้าหรือผู้ออกแบบจะต้องศึกษาและร่วมกันกับบุคคลหลายกลุ่ม เช่น สถาปนิก วิศวกรโครงสร้าง วิศวกรระบบเครื่องกล วิศวกรระบบสุขาภิบาล และเจ้าของอาคาร นอกจากนี้ผู้ออกแบบระบบไฟฟ้าจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจถึงรายละเอียดของมาตรฐานต่างๆ ซึ่งเป็นข้อกำหนดในการออกแบบซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบระบบไฟฟ้า

วิธีการออกแบบระบบไฟฟ้า
1. ศึกษาแบบทางสถาปัตยกรรม เพื่อให้ทราบข้อมูลต่างๆ ของอาคาร การใช้งานของห้องที่
สถาปนิกได้ทำการออกแบบไว้ตามความต้องการของสถาปนิกและเจ้าของอาคาร
2. ประมาณการใช้โหลด โดยใช้ข้อมูลจากสถาปนิกและความต้องการของเจ้าของอาคาร ชนิด
และลักษณะการใช้งานของอาคารและพื้นที่ทั้งหมดของอาคาร
3. กำหนดตำแหน่งและแนวทางของสายประธานจากการไฟฟ้าฯ ที่จ่ายให้แก่อาคาร , ขนาดแรงดันไฟฟ้าของระบบ , ตำแหน่งของมิเตอร์วัดไฟฟ้า ซึ่งจะต้องดูสถานที่ที่จะสร้างอาคารพร้อมทั้งขอคำแนะจากการไฟฟ้าฯ หน่วยที่รับผิดชอบบริเวณที่จะทำการก่อสร้างอาคารนั้นๆ
4. ศึกษา ชนิดและการใช้งานของพื้นที่ในอาคาร,อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการใช้และขนาดการกินกระแสของอุปกรณ์แต่ละชนิด ซึ่งข้อมูลบางส่วนจะต้องสอบถามจากสถาปนิกผู้ออกแบบหรือเจ้าของอาคาร
5. ศึกษาความต้องการของโหลดไฟฟ้าระบบอื่นๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ , ระบบลิฟท์ ,ระบบประปา และอื่นๆ
6. ศึกษาและกำหนดตำแหน่งติดตั้งและขนาดของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ตลอดจนความ
ต้องการเนื้อที่ของอุปกรณ์เหล่านั้น เช่น ตำแหน่งและขนาดของห้องเครื่อง ห้องติดตั้งหม้อแปลงและ
แผงควบคุมไฟฟ้าหลัก (Main Distribution Board ; MDB) แผงควบคุมไฟฟ้ารอง (Sub Distribution
Board ; SDB) แผงควบคุมไฟฟ้าย่อย (Load Panel) แนวทางและขนาดของท่อเดินสายป้อน
(Feeder Shaft) ซึ่งเป็นประโยชน์ในการออกแบบ
7. คำนวณและออกแบบความต้องการของแสงสว่างของแต่ละห้องตามชนิดของการใช้งานพร้อมทั้งกำหนดชนิดของดวงโคม (ชนิดดวงโคมบางครั้งอาจถูกกำหนดโดยสถาปนิกทั้งนี้เพื่อความสวยงาม) เพื่อหาโหลดของระบบแสงสว่าง
8. กำหนดตำแหน่งของดวงโคมและเต้ารับลงในแบบโดยทั่วไปการแสดงตำแหน่งของดวงโคมและเต้ารับจะแยกเขียนออกจากกัน และหากมีระบบไฟฟ้าสื่อสารอันได้แก่ ระบบโทรศัพท์ ระบบโทรทัศน์ ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้อัตโนมัติ ก็มักจะเขียนแบบแยกแผ่นกันทั้งนี้เพื่อความง่ายในการอ่านแบบ
9. แยกวงจรย่อยโดยโยงสายลงในแบบเพื่อควบคุมดวงโคมหรือเชื่อมต่อวงจรของเต้ารับไฟฟ้า ซึ่งอยู่ในวงจรเดียวกันเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งกำหนดหมายเลขของวงจรในแผงจ่ายไฟ การกำหนดวงจรย่อยมักจะกำหนดตามความเหมาะสมของอุปกรณ์ตัดตอน (Circuit Breaker ; CB ) หรือกำหนดตามพื้นที่การใช้งานควบคู่กัน
10. คำนวณโหลดแต่ละแผงควบคุมไฟฟ้าย่อย พร้อมทั้งชนิด,จำนวนและขนาดของสายไฟฟ้า,ท่อร้อยสายไฟฟ้า และขนาด AT AF และ Pole ของเซอร์กิตเบรคเกอร์ (CB) ลงในตารางโหลด
11. นำโหลดในแต่ละแผงควบคุมไฟฟ้ารวมกันในแต่ละเฟสของระบบ แล้วคำนวณหาสายป้อน และ ขนาดอุปกรณ์ป้องกันตู้ควบคุมไฟฟ้าย่อย (Main Circuit Breaker) ของตู้ควบคุมไฟฟ้าย่อยนั้น
12. รวมโหลดทั้งหมดของแผงควบคุมไฟฟ้าย่อยทั้งอาคารเพื่อนำมาคำนวณและออกแบบหาพิกัดของอุปกรณ์ป้องกันภายในตู้ควบคุมไฟฟ้าหลัก (MDB) และอุปกรณ์ประกอบภายในตู้ รวมกับถึงการกำหนดขนาดของหม้อแปลงไฟฟ้าและสายประธานของอาคาร
13. คำนวณและเขียน Riser Diagram ของระบบไฟฟ้า รวมทั้ง คำนวณและเขียน SingleLine Diagram ของตู้ MDB
14. คำนวณและออกแบบระบบอื่นๆ เช่นระบบล่อฟ้า , ระบบสื่อสารในอาคาร , ระบบโทรศัพท์ , ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้อัตโนมัติ ระบบป้องกันภัย และอื่นๆ
15. ตรวจสอบและแก้ไขแบบให้ถูกต้องสมบูรณ์
16. เขียนข้อกำหนดและรายละเอียดประกอบแบบ (รายการประกอบแบบ) ซึ่งจะแสดงรายละเอียดต่างๆ ในแบบ เช่น ขนาดและชนิดรวมถึงเครื่องหมายการค้าของอุปกรณ์ที่กำหนดให้ใช้และข้อกำหนดซึ่งผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบและปฏิบัติตาม โดยทั่วไปจะถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาในการรับเหมางานก่อสร้างงานติดตั้ง ระหว่างผู้รับจ้างกับผู้ว่าจ้าง(เจ้าของอาคาร) ด้วย
17. เมื่อวิศวกรผู้ออกแบบทำการกำหนดชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว ผู้ออกแบบจะต้องทำการประมาณราคา เพื่อผู้ว่าจ้างจะได้ใช้เป็นราคากลางในการคัดเลือกผู้รับเหมาทำการก่อสร้างติดตั้งต่อไป
18. ในบางกรณีวิศวกรผู้ออกแบบอาจต้องเป็นผู้ตรวจสอบให้คำแนะนำในการติดตั้งระบบไฟฟ้าด้วยจากขั้นตอนต่างๆ ในการออกแบบระบบไฟฟ้า จะเห็นว่ามีความซับซ้อนและต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายความยากลำบากในการออกแบบจะมีมากขึ้นเมื่อเป็นอาคารขนาดใหญ่และมีการใช้โหลดมากๆ โดยเฉพาะข้อจำกัดในด้านของการออกแบบที่ต้องการใช้เกิด ความประหยัด ความปลอดภัย และมีความเชื่อมั่นใระบบสูงๆ โดยจะต้องอาศัยความชำนาญ,ประสบการณ์และการศึกษาค้นคว้าในการออกแบบเป็นอย่างมาก



วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รับคำนวณโหลดไฟฟ้า ออกแบบไฟฟ้าแรงต่ำ เพื่อขอมิเตอร์ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า

รับคำนวณโหลดไฟฟ้า ออกแบบไฟฟ้าแรงต่ำ เพื่อขอมิเตอร์ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า รับปรึกษาเรื่่องการขอไฟฟ้ากับการไฟฟ้าทั้งแรงสูงและแรงต่ำ คำนวณโหลดอาคารชุด อาพาร์ทเม้นท์ คอนโด ก่อนขอมิเตอร์จากการไฟฟ้า รวมถึงการคำนวณโหลดไฟฟ้าโรงงาน บ้าน ห้างร้าน และออกแบบระบบไฟฟ้าแรงต่ำและแรงสูง
:::กิโก๋ ว.ไฟ :::
E-mail : NK_Elecdesign@hotmail.com
Tel: 091-749-2738

Line ID: kikoee